AE. Racing Club
22 กรกฎาคม 2568 18:50:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า:  «  1 2 3 [4] 5 6 ... 8  »    ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่อง มหัศจรรย์ ที่เราไม่รู้(แต่ควรจะรู้ไว้เป็นความรู้) เอะยังไง  (อ่าน 27377 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
จิ๊กโก๋..โรแมนติก <RZ>
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6,635


เข้าป่าพอไหว..ขับไวเค้ากัววว


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #60 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 17:01:05 »

อ้างถึง
ผมงอก
โดย ปกติ ใน 1 สัปดาห์ผมจะงอกออกมา 2 มิลลิเมตรใน 1 วัน จะมีช่วงที่ผมงอกได้ดี 2 ช่วง คือ ระหว่างเวลา 10.00 11.00 น.และ 16.00 18.00 น. แต่ไม่ต้องเอากระจกไปส่องดูการงอกของเส้นผมหรอกนะเพราะมันแทบจะมองไม่เห็น เลย

แสดงว่าตาอิศไม่ปกติอะดิ ยังงี้แหละ ทำตอนกลางวันบ่อย ออิอิ

ผมงอก..มะช่ายผมหงอกนะ

ตามันลายอ่ะตาแมว  ไม่ค่อยได้ทำก็เงี้ยยย...555+++

ถึงว่า.เค้กบ่นๆอยู่
บันทึกการเข้า

หันมาเล่นออฟโรดดีกว่า

ไม่ได้เหลือ..แค่เบื่ออะไรเดิมๆ
Tatum + Apple
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,899


ปิดตำนาน น้องส้มแห่งโซนศรีฯ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #61 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 17:14:22 »

อ้างถึง
ผมงอก
โดย ปกติ ใน 1 สัปดาห์ผมจะงอกออกมา 2 มิลลิเมตรใน 1 วัน จะมีช่วงที่ผมงอกได้ดี 2 ช่วง คือ ระหว่างเวลา 10.00 11.00 น.และ 16.00 18.00 น. แต่ไม่ต้องเอากระจกไปส่องดูการงอกของเส้นผมหรอกนะเพราะมันแทบจะมองไม่เห็น เลย

แสดงว่าตาอิศไม่ปกติอะดิ ยังงี้แหละ ทำตอนกลางวันบ่อย ออิอิ

ผมงอก..มะช่ายผมหงอกนะ

ตามันลายอ่ะตาแมว  ไม่ค่อยได้ทำก็เงี้ยยย...555+++

ถึงว่า.เค้กบ่นๆอยู่

ตาจักรไม่ค่อยทำการบ้านหรอ ...555+
บันทึกการเข้า

Tatum + Apple
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,899


ปิดตำนาน น้องส้มแห่งโซนศรีฯ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #62 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 17:59:44 »

  อาวไปอีกละกานนะ..

เส้นขนแข็งแรง

โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะมีเส้นขนประมาณ 5 ล้านเส้นทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปากฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขนที่แข็งแรงที่สุดคือหนวด เชื่อหรือไม่ว่าหนวดแข็งแรงพอ ๆกับลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันเลยทีเดียว


ตาแหลมคม

ตาของเหยี่ยวสามารถมองเห็นแมลงวันที่อยู่ในระยะครึ่งไมล์ได้ส่วนเสือดาวก็สามารถมองเห็นคนกระพริบตาที่ระยะห่าง 100 หลาได้ตาของคนก็มีความพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้มากถึง 17,000 สี

ตาที่สาม

เชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์มีสามตาตาที่สามนี้ก็คือต่อมไพเนียลซึ่งอยู่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะภายในต่อมมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโตนินอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่าสารชนิดนี้ช่วยส่งผลให้มนุษย์มีการคิดอย่างสมเหตุสมผลนักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบต่อมนี้ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์

ฮัดเช้ย!

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำให้จมูกของเราเกิดการระคายเคืองเราจะจามออกมาโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราจามจะมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาถึง 100,000 หยด ด้วยอัตราเร็ว 152 ฟุตต่อวินาที

ริมฝีปาก

เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่าทำไมริมฝีปากของเราจึงมีสีแดงมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผิวหนังบริเวณริมฝีปากบางกว่าส่วนอื่น ๆ นั่นเองจึงทำให้สามารถมองเห็นสีของเลือดใต้ผิวหนังได้

ยิ้มแย้ม

ร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัดหากเราหน้าบึ้งจะต้องใช้กล้ามเนื้อประมาณ 400 มัด ในขณะที่การยิ้มใช้กล้ามเนื้อ 15 มัด เท่านั้น และพลังงานที่ใช้ก็น้อยกว่าการขมวดคิ้ว 1 ครั้งเสียอีกเชื่อกันว่าการขมวดคิ้ว 200,000 ครั้ง ทำให้เกิดรอย กา 1 รอย

ฟันปลา

เชื่อกันว่าเมื่อประมาณ 1 ล้านปีที่แล้วฟันของมนุษย์มีลักษณะคล้ายกับฟันปลาเพราะมีการค้นพบฟันลักษณะเดียวกันกับของมนุษย์อยู่ในกรามของปลาฉลามยุคก่อนประวัติศาสตร์ดังนั้น ฟันของมนุษย์และปลาฉลามจึงมีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกันแต่ฟันของมนุษย์ได้พัฒนาจนมีรูปร่างเหมือนในปัจจุบัน

การทรงตัว

เชื่อหรือไม่ว่าหูมีผลต่อการทรงตัว อวัยวะที่ช่วยให้เราสามารถทรงตัวอยู่ได้คือเซมิเซอร์คิวลาร์ คาแนล (semicir-cular canel) ในหูซึ่งภายในมีของเหลวที่ไวต่อการกระตุ้นของเหลวนี้จะทำหน้าที่ในการรับรู้สมดุลหากเราหมุนไปรอบ ๆ ตัวเร็ว ๆ หลาย ๆ ครั้ง จะทำให้อวัยวะนี้เกิดความสับสนเราจึงรู้สึกเวียนศีรษะ

เสียงกรน

เสียงกรนเป็นเสียงที่สร้างความรำคาญแก่ผู้ได้ยินเพราะดังพอ ๆกับเสียงของสว่านไฟฟ้าซึ่งดังถึง 70 เดซิเบล

พลังปอด

เชื่อหรือไม่ว่าปกติเราจะหายใจเอาอากาศเข้าไปประมาณ 6 ลิตรต่อนาทีแต่ระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกายใหม่ ๆ เราอาจหายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากถึง 100 ลิตรต่อนาที

หัวใจที่รัก

ในช่วงชีวิตของมนุษย์นั้น หัวใจจะสูบฉีดโลหิตประมาณ 500 ล้านลิตรและเต้น 2,000 ล้านครั้ง ดังนั้น ใน 1 วัน หัวใจจะสูบฉีดโลหิตมากกว่า 13,500 ลิตร และเต้น 100,000 ครั้งแต่ละวันหัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้พลังงานมากพอเชื่อหรือไม่ว่าพลังงานที่ได้นี้สามารถยกรถยนต์ได้สูงถึง 15 เมตรเลยทีเดียว


 




บันทึกการเข้า

Tatum + Apple
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,899


ปิดตำนาน น้องส้มแห่งโซนศรีฯ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #63 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 18:18:33 »

  ยัง..ยังคับ ยังไม่หมด 

เรื่องของผิวหนัง

เชื่อหรือไม่ว่าพื้นที่เพียง 1 ตารางนิ้วบนผิวหนังของเรานั้นประกอบไปด้วยเซลล์ถึง 19 ล้านเซลล์ ขน 60 เส้นต่อมน้ำมัน 90 ต่อม ต่อมเหงื่อ 625 ต่อม เส้นเลือดยาว 19 ฟุต และเซลล์รับความรู้สึก 19,000 เซลล์

เซลล์เม็ดเลือด

มีผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าถ้านำเซลล์เม็ดเลือดของเรามาต่อเป็นสายยาวจะสามารถพันรอบเส้นศูนย์สูตรได้ถึง 4 รอบเลยทีเดียว

น้ำในร่างกาย

ร่างกายของเรามีสถานะใดตามหลักวิทยาศาสตร์ หลายคนอาจจะคิดว่า มีสถานะเป็นของแข็งแต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่าร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ด้วยเหตุนี้ตลอดชีวิตของคน 1 คนจึงต้องดื่มน้ำเป็นจำนวนมากถึง 70,000 ลิตร

ความสำคัญของเกลือแร่

เกลือแร่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพราะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง หากนำเกลือแร่ออกจากกระดูกโดยนำกระดูกไปแช่ในน้ำกรดเกลือแร่จะละลายออกมาจนสามารถนำกระดูกนั้นมาผูกให้เป็นปมได้

หนาวสั่น

อาการหนาวสั่นเป็นอาการที่ร่างกายแสดงออกมาเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหลังจากที่ได้รับความเย็นมากเกินไปเพราะความเย็นจะทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานช้าลงและเป็นอันตรายได้หากอุณหภูมิลดต่ำลงมาก ๆ ดังนั้นกล้ามเนื้อจึงผลิตความร้อนด้วยการทำให้กล้ามเนื้อหดตัวไปมาอย่างรวดเร็ว

สูงและต่ำ

ตอนกลางวันอุณหภูมิในร่างกายของเราอาจสูงขึ้นได้มาก ๆ หากเรารับประทานอาหารมื้อใหญ่อยู่ในที่อากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ตอนกลางคืนอุณหภูมิในร่างกายของเราจะค่อย ๆลดลงจนต่ำที่สุดเมื่อเรานอนหลับเพื่อเป็นการรักษาสมดุล

ลูกผู้ชาย

การที่ผู้ชายเชื่อว่าลูกผู้ชายต้องไม่หลั่งน้ำตานั้นส่งผลกระทบให้ผู้ชายเป็นโรคเครียดได้ง่ายกว่าผู้หญิงเพราะมีโอกาสปลดปล่อยอารมณ์ที่ถูกกดดันได้น้อยรู้อย่างนี้แล้วใครที่กำลังเครียดก็ลองหาโอกาสปลดปล่อยอารมณ์บ้างก็ดีนะ แต่ไม่ใช่เอาแต่นั่งร้องไห้อยู่ล่ะการออกกำลังกายก็สามารถช่วยคลายเครียดได้เช่นกัน

ตัวยารักษาโรค

การฉีดยาเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่งที่แพร่หลายทราบหรือไม่ว่าแพทย์ได้ตัวยามาจากไหนในยาฉีดนั้นมีส่วนประกอบของแบคทีเรียที่ทำให้มีฤทธิ์อ่อนลงซึ่งได้มาจากเชื้อโรคของผู้ป่วยรายอื่นที่ป่วยเป็นโรคเดียวกับเรานอกจากนำไปทำเป็นยาฉีดแล้วเชื้อโรคเหล่านั้นยังสามารถนำไปทำเป็นวัคซีนป้องกันโรคได้อีกด้วยโดยวัคซีนจะเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันโรคชนิดนั้น ๆในร่างกาย


หาวนอน

อาการง่วงเหงาหาวนอนเกิดจากการที่เรารู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลียระบบทางเดินหายใจของเราจึงทำงานช้าลงเป็นผลให้กล้ามเนื้อคอหอยปิดโดยอัตโนมัติทำให้ร่างกายต้องการอากาศเพิ่มขึ้นเราจึงต้องหาวเพื่อเอาอากาศเข้าไปใช้ในกระบวนการหายใจ

ใบหน้า

วันหนึ่ง ๆเราอาจมีอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้นถูกถ่ายทอดออกมาบ่อยครั้งทางใบหน้าเชื่อหรือไม่ว่ากล้ามเนื้อทั้งที่เป็นวงกลมและเป็นเส้นบนใบหน้าสามารถแสดงอารมณ์ที่หลากหลายได้มากกว่า 1,000 รูปแบบ

นอนหลับ

ขณะนอนหลับเราสามารถเรียนรู้ได้หรือไม่ในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้ในขณะนอนหลับได้แต่จากการทดลองอย่างละเอียดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังพบว่ามนุษย์จะไม่สามารถเรียนรู้ได้ในขณะที่นอนหลับสนิทแต่จะสามารถเรียนรู้ได้ในขณะที่อยู่ในช่วงสะลึมสะลือ

ล้มตัวลงนอน

เชื่อหรือไม่ว่าในบรรดาสิ่งมีชีวิต มีสัตว์เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น ที่นอนหลับโดยเอนหลังแนบกับพื้นและสัตว์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็คือมนุษย์

น้ำหนักลด

ไม่ว่าเราจะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใดก็ตาม น้ำหนักของเราจะสามารถลดลงได้ 300 กรัมทุกวันในขณะที่เรานอนหลับแต่อย่าเพิ่งดีใจไปนะคะ เพราะทันทีที่ตื่นขึ้นมาน้ำหนักของเราก็จะเท่าเดิม

อาณาจักรแห่งความฝัน

นักวิทยาศาสตร์พบว่าถ้าวันหนึ่ง ๆ เรานอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมง เราจะฝัน 3-5 ครั้งต่อคืนโดยช่วงความฝันแต่ละครั้งใช้เวลานานประมาณ 10-30 นาทีและถ้าเราถูกปลุกขึ้นมาในระหว่างที่กำลังฝันอยู่เราอาจจะจำความฝันนั้นได้หรือไม่ได้ก็ได้

ความฝัน

เชื่อหรือไม่ว่าความฝันช่วยทำให้จิตใจของเราสดชื่นเบิกบานได้ไม่ว่าเราจะจำความฝันนั้นได้หรือไม่ก็ตามเพราะความฝันจะแสดงถึงสิ่งที่เราอยากทำเมื่อตื่นแต่เราไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลนานาประการ

เวลาของความฝัน

ผู้เชี่ยวชาญแสดงทัศนะเกี่ยวกับเวลาในช่วงของความฝันไว้ว่าเวลาที่เราตื่นอยู่ประสาทความรู้สึกเกี่ยวกับเวลาของเราจะเป็นแนวตั้ง ดังนั้นเราจึงรับรู้แต่ขณะปัจจุบันเท่านั้น แต่เมื่อเราหลับมันจะกลายเป็นเส้นแนวนอนทำให้เราสามารถเดินทางไปในอดีตและอนาคตได้

สร้างความฝัน

ถ้าอยากให้ความฝันสวยงามลองงดดื่มเครื่องดื่มทุกชนิดประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอนสิครับ เพราะผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจะทำให้ความฝันยิ่งใหญ่และถ้าใครเห็นความฝันของตนเองเป็นสีต่าง ๆ ละก็แสดงว่าเป็นคนที่ไวต่อการกระตุ้นต่างๆ รอบตัวมากทีเดียว

 







บันทึกการเข้า

Tatum + Apple
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,899


ปิดตำนาน น้องส้มแห่งโซนศรีฯ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #64 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 18:39:34 »

  คงคิดว่าหมดแล้วสินะครับ.. แต่ว่า .. แต่ว่า .. ยังไม่หมด อิอิอิ

จมูกของมด

ใครรู้บ้างว่ามดใช้อะไรในการดมกลิ่นคำตอบก็คือใช้เท้านั่นเองการใช้เท้าดมกลิ่นช่วยให้มันสามารถตามกลิ่นที่เพื่อนของมันทิ้งไว้ตามทางได้นอกจากนี้มันยังสามารถใช้ข้อต่อที่หนวดรับกลิ่นได้อีกด้วย

นายช่างใหญ่

บีเวอร์เป็นสัตว์ที่ชอบสร้างเขื่อนและบ้านของมันมากมันจะคาบกิ่งไม้และกินไม้เป็นอาหาร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถ้าไม่ได้กัดไม้ทุกวันฟันของมันก็จะงอกและยาวขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มันกินอาหารไม่ได้และอดตายในที่สุด

อูฐลื่น

อูฐเป็นสัตว์ที่ขาแต่ละข้างประกอบด้วยนิ้วขนาดใหญ่ 2 นิ้วปกคลุมด้วยแผ่นรองเท้าที่หนาและเหนียวทั้งยังมีแผ่นหนังบาง ๆเชื่อมนิ้วเท้าให้ติดกัน ทำให้เท้าอูฐแข็งแรงเหมาะสำหรับเดินในทะเลทรายแต่หากจับอูฐมาอยู่ในโคลนละก็เท้าแบบนี้ก็ไร้ประโยชน์เพราะจะทำให้อูฐลื่นไถลได้ง่าย

หางเก็บอาหาร

มีสัตว์อยู่หลายชนิดที่มีหางและหางของมันก็ใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไป อย่างเช่นแกะพันธุ์หนึ่งที่ใช้หางของมันทำหน้าที่เก็บหญ้าซึ่งเป็นอาหารของมันไว้เมื่อหญ้าขาดแคลนหญ้าที่ถูกสะสมไว้ที่หางก็จะเปลี่ยนเป็นไขมันเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย

หูหนวกเต้นระบำ

หากใครเคยชมภาพยนตร์อินเดียคงจะเคยเห็นงูที่เต้นระบำเมื่อได้ยินเสียงปี่ จริง ๆแล้วมันไม่ได้เต้นระบำเพราะเสียงปี่หรอก  งูเป็นสัตว์ที่หูหนวกจึงไม่ได้ยินเสียงปี่แต่ที่มันเต้นส่ายไปส่ายมาก็เพราะจังหวะการเคลื่อนไหวของหมองูต่างหากถ้าลองใช้ไม้แทนปี่ งูก็ยังคงเต้นระบำได้เหมือนกัน

สุนัขน้ำร้อน

สุนัขเป็นสัตว์ที่คนนิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป เพราะนอกจากจะใช้เฝ้าบ้านแล้วสุนัขยังทำหน้าที่ได้หลายอย่างนานมาแล้วชาวอินเดียนแอซเทคนำสุนัขพันธุ์เม็กซิโกซึ่งตัวเล็กนิดเดียวและมีขนสั้นบางมาใช้แทนกระเป๋าน้ำร้อนเพื่อสร้างความอบอุ่นแก่เท้าเจ้าของเมื่ออากาศหนาว

ช้างนักกิน

ช้างแอฟริกามีขนาดใหญ่มากหนักถึง 7 ตัน ที่ตัวใหญ่ขนาดนี้เพราะมันใช้เวลาในการกินประมาณ 18-20 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน โดยกินพืชผักประมาณวันละ 350 กิโลกรัมและกินน้ำ 90 ลิตร

กินทางตา

โดยปกติสัตว์จะกินอาหารทางปาก แต่สำหรับคางคกและกบแล้วพวกมันจะกินอาหารทางตา เมื่อกินอาหารมันจะปิดตาแน่นดันลูกตาที่แข็งให้ชนเพดานปากทำให้เพดานปากถูกกดลงมาแนบกับลิ้นแล้วดันอาหารลงสู่กระเพาะอาหารนอกจากนี้มันยังดื่มน้ำโดยการดูดซึมน้ำผ่านทางผิวหนังด้วย

ปลิงป้องกันตัว

ปลิงทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกมีวิธีป้องกันตัวเองที่แปลกคือเมื่อถูกทำร้ายมันจะหดตัวทันทีและจะดันอวัยวะภายในของมันออกมา แต่มันก็ยังไม่ตายอวัยวะเหล่านั้นจะเป็นอาหารของผู้ที่ทำร้ายมัน แล้วมันจะค่อย ๆ หลบหนีไป จากนั้น 2 3 สัปดาห์อวัยวะภายในของมันก็จะงอกใหม่

ตาเคลื่อนที่

ปลาลิ้นหมาไม่ได้มีตาเดียวอย่างที่พวกเราเห็นกัน ตอนแรกที่มันเกิดมามันจะมี 2 ตาแต่เมื่ออายุมากขึ้น ตาของมันจะย้ายตำแหน่งมารวมกันโดยเคลื่อนที่ไปรวมกับตาอีกข้างหนึ่งซึ่งอยู่บนหัว

ระเบิดควัน

ปลาหมึกยักษ์มีวิธีการป้องกันตัวคล้ายการสร้างระเบิดควันของทหารเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู มันจะพ่นหมึกดำในถุงด้านหลังลำตัวออกมาทำให้น้ำบริเวณรอบ ๆขุ่นดำ แล้วมันจะรีบหนีไปนักวิทยาศาสตร์พบว่ามันสามารถเปลี่ยนสีหมึกของมันให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ด้วย เช่นสีแดง สีเหลือง สีเทา เป็นต้น

กบหดตัว

กบพาราดอกซิคัล (Paradoxical) ในอเมริกาใต้มีความพิเศษคือยิ่งมันเจริญเติบโตขึ้นตัวก็ยิ่งเล็กลงเมื่อเป็นลูกอ๊อดมันมีลำตัวยาวถึง 10 นิ้วแต่เมื่อโตเป็นกบลำตัวจะหดลงจนเหลือขนาดไม่เกิน 3 นิ้วเท่านั้น

หนอนกระสือ

หนอนกระสือตัวเมียจะมีอวัยวะที่เรืองแสงอยู่บริเวณใต้ท้องซึ่งใช้ส่งสัญญาณไปยังปีกของตัวผู้ที่บินอยู่ด้านบนหนอนกระสือตัวเมียสามารถควบคุมการเปล่งแสงได้โดยจะใช้แสงต่อเมื่อต้องการดึงดูดตัวผู้เท่านั้น

แสงนำทาง

รู้ไหมทำไมผีเสื้อกลางคืนจึงชอบบินเข้าหาแสงไฟในตอนกลางคืนเพราะปกติผีเสื้อกลางคืนจะใช้แสงจันทร์นำทางแต่แสงอื่นทำให้มันสับสนและประสาททางด้านทิศทางเสียไป ดังนั้นมันจึงพยายามปรับแสงจันทร์ปลอมให้ทำมุมเดียวกันกับแสงจันทร์จริง ๆโดยการบินเป็นวงกลมเข้ามาใกล้แสงนั้นมากขึ้น

เครื่องขยายเสียง

จิ้งหรีดตัวผู้จะใช้เสียงเพลงซึ่งเกิดจากขาหน้าเสียดสีกันการดึงดูดตัวเมียแต่จะไม่ดังนัก มันจึงสร้างเครื่องขยายเสียงชนิดพิเศษโดยการขุดรังใต้ดินให้มีอุโมงค์ทางเข้าสองทางแล้วก็ยืนส่งเสียงไพเราะอยู่ทางอุโมงค์ด้านหนึ่ง แต่ที่แปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือหูที่ไวต่อเสียงของมันไม่ได้อยู่ที่หัวแต่ที่อยู่ที่ขา

สัตว์มีเหงื่อหรือไม่

สุนัขก็มีเหงื่อครับแต่เหงื่อของมันจะออกบริเวณฝ่าเท้า นอกจากนี้สัตว์อื่น ๆ เช่น วัวจะมีเหงื่อออกทางจมูกส่วนเหงื่อของฮิปโปโปเตมัสจะออกมาจากทุกส่วนของร่างกายและจะเป็นเหงื่อสีแดงลองสังเกตนะคะว่าสัตว์อื่น ๆมีเหงื่อออกที่ส่วนใดของร่างกาย

หนึ่งไม่มีสอง

คนเรามีลายนิ้วมือไม่เหมือนกันม้าลายแต่ละตัวก็มีแถบลายเฉพาะที่ซึ่งจะไม่ซ้ำกับม้าลายตัวอื่น ๆเช่นกัน

หนูนักร้อง

หนูเป็นสัตว์ที่สามารถร้องเพลงได้แต่เสียงร้องของมันจะเป็นเสียงซูเปอร์โซนิค (Supersonic) ซึ่งมีลักษณะเป็นเสียงสูงและรัว ทำให้เราไม่ได้ยินเสียงเพลงของมันแต่ถ้ามันลดระดับเสียงให้ต่ำลงจนถึงระดับปกติที่เราสามารถได้ยินเราก็จะได้ยินเสียงเพลงจากหนูได้

สัตว์ปากกว้าง

สัตว์ที่สามารถอ้าปากได้กว้างที่สุดคืองูเหลือมเรติคูเลเตด (Reticulated python) มันสามารถยืดตัวได้ถึง 10 เมตร และอ้าปากกว้างจนกลืนกินสัตว์ที่มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม จึงไม่แปลกที่จะมีคนพบสัตว์ใหญ่ ๆอย่างเสือดาวในท้องของมัน

ไม่เอาไมโครโฟน

ไซเมียง (Simiang) เป็นสัตว์บกที่มีถุงลมขนาดใหญ่ จึงตะโกนได้เสียงดังกว่าสัตว์อื่น ๆมันสามารถตะโกนให้สัตว์ที่อยู่ห่างออกไปถึง 8 กิโลเมตรได้ยินได้ส่วนสัตว์น้ำที่สามารถตะโกนได้เสียงดังที่สุดคือ ปลาวาฬรอร์ควอล (Rorqual whale) มันสามารถร้องเพลงด้วยความถี่ 20 เฮิรตซ์ ให้ได้ยินไปไกลถึง 150 กิโลเมตรเลยทีเดียว

นักแม่นธนู

ปลาเสือมีวิธีจับเหยื่อที่คล้ายกับการยิงธนูโดยมันจะพ่นน้ำไปยังแมลงที่เกาะอยู่บนต้นพืชเหนือน้ำ ทำให้แมลงตกลงในน้ำจากนั้นก็จะตรงเข้าไปฮุบแมลงนั้นไว้ทันที ปลาเสือสามารถพ่นน้ำใส่เหยื่อของมันในระยะ 3 เมตรได้อย่างแม่นยำ

อาวุธของทากทะเล

ทากทะเลไม่มีเปลือกห่อหุ้มร่างกาย ดังนั้นมันจึงป้องกันตัวโดยการกินเซลล์เข็มพิษของแมงกะพรุนเข้าไปเพื่อใช้เป็นอาวุธเข็มพิษนี้จะไม่ถูกย่อยไปพร้อมกับอาหารแต่จะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านหลังเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูมันก็จะป้องกันตัวด้วยการปล่อยเข็มพิษออกมา

ปลาฉลามว่ายน้ำ

ถ้าเรามีโอกาสได้เฝ้าดูปลาฉลามอย่างใกล้ชิดก็จะพบว่าปลาฉลามต้องว่ายน้ำตลอดเวลาหากหยุดว่ายน้ำมันจะตาย เพราะปลาชนิดอื่น ๆ จะมีถุงลมทำให้หายใจได้แม้ไม่เคลื่อนที่แต่ปลาฉลามไม่มีถุงลม ดังนั้นถ้ามันหยุดว่ายน้ำก็จะทำให้ไม่มีออกซิเจนไหลผ่านเหงือกจึงไม่มีออกซิเจนใช้ในการหายใจ

สุดยอดตัวอ่อน

ตัวอ่อนของสัตว์ที่กินเก่งที่สุดในโลกคือตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนในอเมริกาเหนือเนื่องจากมันสามารถกินอาหารที่มีน้ำหนักมากถึง 86,000 เท่าของน้ำหนักตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมงแรกที่มันเกิดมา


  ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านจนจบ... ขอโทดนะครับ ยาวไปหน่อย แค่อยากให้ทุกคนได้อ่านบางอย่างทีไม่รู้ หรือไม่เคยคิดหรือเห็นมาก่อน 

ขำๆ หนุกๆ นะ



















บันทึกการเข้า

N u T 7 a_9 0 ™
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,121


New Doraemon Verion


ดูรายละเอียด
« ตอบ #65 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 21:08:31 »

มาเบิ้มทุกกระทู้เลย อ่านไม่ทัน 
บันทึกการเข้า

ไปเรื่อยๆ... กูไม่รีบ
maverrick_ae101 รักในหลวง
นักแข่งมืออาชีพอันดับสอง
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 944


ป่าไม้คือชีวิต 4x4


ดูรายละเอียด
« ตอบ #66 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 22:37:26 »

ตาแมว......เค้าขอเค็มหน่อยจิ

 
บันทึกการเข้า

I'm Sorry
Free Style Running Since 1996
[ Sir-Drag-A-Lot ]
Tuned By...Child 1300
[/b]
maverrick_ae101 รักในหลวง
นักแข่งมืออาชีพอันดับสอง
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 944


ป่าไม้คือชีวิต 4x4


ดูรายละเอียด
« ตอบ #67 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 22:38:02 »

เห้อ....อ่านจนตาเบลอๆๆๆเรย

ปล.โซนศรีฯ  ..สาระดี
บันทึกการเข้า

I'm Sorry
Free Style Running Since 1996
[ Sir-Drag-A-Lot ]
Tuned By...Child 1300
[/b]
จิ๊กโก๋..โรแมนติก <RZ>
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6,635


เข้าป่าพอไหว..ขับไวเค้ากัววว


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #68 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2552 23:07:15 »

ตาแมว......เค้าขอเค็มหน่อยจิ

 

อย่าไปเรียกแบบนี้ที่ไหนนะ.อายเค้า.......



เค้าเรียกว่า   เขียม    ย่ะ
บันทึกการเข้า

หันมาเล่นออฟโรดดีกว่า

ไม่ได้เหลือ..แค่เบื่ออะไรเดิมๆ
wolfboy
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,140


จงใฝ่ฝัน แต่ อย่าเพ้อฝัน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #69 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 01:30:40 »

ลำพังของเจ้าเค้กหน้าแรก ก้ออ่านไม่หมดแล้วเรา
บันทึกการเข้า

สาวไทย สวย ไม่แพ้ชาติใดในโลก
landslots รัก ในหลวง
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,048


- ก็ได้แค่นั้นแหละ -


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #70 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:48:08 »

ต่อกันครับ ขอไปไล่อ่านของเก่า ๆ ก่อนน่ะ
บันทึกการเข้า

กลับมาแล้ว

Jigging man
[/center]
Aoffii@ImSry
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,020


สิบคนในวงเหล้า คงไม่อบอุ่นเท่าหนึ่งคนในวงแขน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #71 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:50:10 »

รวบรวมข้อมูล!!!!!หลุมดำ!!!! ในอวกาศ ห้ามพลาด!!!!!จากทุกแขนง



ความเวิ้งว่างเปล่าเหนือหัวคนเราขึ้นไปนั้น เป็นเอกภพมหามหึมาอันมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเหลือสติปัญญาที่จะหยั่งคะเน ได้ สถานที่อันไร้อาณาเขตนี้นั้นก็ประกอบด้วยดวงดาวน้อยใหญ่ที่คุมกันหลวมๆ เป็นจักรวาลและจักรวาลน้อยใหญ่ก็มีอยู่เหลือคณานับ เคลื่อนคล้อยในเอกภพอันไร้ขอบเขตด้วยจำนวนอันไร้ปริมาณ          ธรรมชาติมิได้สร้างความเรียบร้อยสวยงามให้ปรากฏขึ้นอย่างเดียว แต่ธรรมชาตินี่แหละที่ก็ได้สร้างความ*Censer*มเกรียม ความหายนะให้ เกิดควบคู่กันไปด้วย ใครจะคิดได้ ว่า อันดวงดาวทั้งปวงที่เห็นดารดาษบนท้องฟ้านั้น คืออาหารอันโอชะของเจ้าสัตว์ร้ายพวกหนึ่งที่คอยจ้องเขมือบดาวเหล่านี้ให้สูญ หายไป ตราบใดก็ตามที่ดาวน้อยใหญ่ทั้งหลายเผลอเรอหลงเข้าไปในแวดวงที่มัน “อาศัย” อยู่?
         สัตว์ร้ายที่ว่านี้ นักวิทยาศาสตร์บนดาวเล็กๆ ดวงที่เรียกว่าโลกนี้เขาตั้งชื่อมันเอาไว้ว่า “แบล็ค โฮล” หรือแปลกันง่ายๆ คือ “หลุมดำ”

ในระยะไม่กี่ปีที่ ผ่านมา นับแต่ปี พ.ศ. 2513 นั้น นักวิทยาศาสตร์สาขาดาราศาสตร์ทั้งหลายก็พากันบอกเป็นเสียงเดียวว่า เจ้าสิ่งที่เรียกว่าหลุมดำหรือแบล็ค โฮลนั้นได้จัดการออกล่าเหยื่อเขมือบดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้าไปแล้วมากต่อมาก และหลังจากเขมือบดาวเหล่านี้ไปชั่วระยะหนึ่งแล้ว มันก็หยุดการล่าเหยื่อของมันไปชั่วระยะหนึ่ง

        ช่วงที่แบล็ค โฮลอยู่เฉยๆ ไม่อนาทรคันปากคันคอจะกินดาวอย่างที่เคยนั้น นักดาราศาสตร์นั่นแหละที่เขาบอกว่ามันกำลังขอเวลาสำหรับ “ย่อย” ดาวที่เป็นอาหารของมันอยู่ มาถึงตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญที่เฝ้าสังเกตสังเกตเจ้าสัตว์ร้ายตัวนี้ กำลังร้องบอกว่าเจ้าหลุมดำ หรือแบล็ค โฮลนี้ เริ่มต้นที่จะออกล่าเขมือบดวงดาวใหม่แล้วแต่โชคดีที่ว่าโลกเรานั้นยังอยู่ ไกลมากจากถิ่นที่สัตว์ร้ายแห่งเอกภพนี้มันสิงสถิตอยู่ ไม่เช่นนั้นสักวันหนึ่งโลกใบนี้ ก็คงถูกมันเขมือบ และจัดการย่อยอร่อยปากอร่อยกระเพาะมันไปเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม วันสุดท้ายของโลกและสุริยจักรวาลนั้นก็ยังมีโอกาสมาถึงเหมือนกัน เพราะดวงดาวเพื่อนบ้านตลอดจนถึงดวงอาทิตย์ อาจจะถือว่าสุริยจักรวาลทั้งระบบนั้นกำลังค่อยๆ ถูกดูดให้เข้าไปหาเจ้าแบล็ค โฮลนี้ทีละน้อยๆ แต่ว่าเรื่องนี้ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจขนข้าวของอพยพกันหรอกนะครับ เพราะนักดาราศาสตร์กล่าวว่า อีกอย่างน้อยๆ ก็นับสิบๆ ล้านปีนั่นแหละกว่าที่โลกจะกลายเป็นเหยื่อเจ้าสัตว์ร้ายแห่งเอกภพ เวลาป่านนั้นเราจะตายไปเกิดที่ไหนอีกกี่สิบกี่ร้อยหรือกี่ล้านชาติก็ไม่รู้

         ปรากฎการณ์สัตว์ร้ายแห่งเอกภพหรือหลุมดำนี้อาจจะมีมานานนับร้อยพันหมื่น ล้านปีมาแล้ว แต่ก็เพิ่งเป็นที่ประจักษ์กันในหมู่มนุษย์เพียงไม่นานมานี้ ก็เมื่อคนเรามีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้รอบตัวให้ทันสมัยสมใจนึกมากขึ้น เพราะความก้าวหน้านี้เอง ที่ทำให้เราได้มองเห็นเจ้าสัตว์ร้ายนี้ ด้วยความรู้จากสมมติฐานกลายไปเป็นทฤษฎี

         เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 หรือ 81 ปีมาแล้ว มีปรากฎการณ์ประหลาดเกิดขึ้นที่บริเวณทุ่งทุงกัสทางตอนกลางของไซบีเรีย ปรากฏการณ์นี้ได้แก่การระเบิดเสียงกึกก้องกลางอากาศ และมีการสั่นสะเทือนอย่างมหาศาลของแผ่นดินบริเวณนั้นและในอาณาเขตรัศมีหลาย ร้อยกิโลเมตรโดยรอบ บรรดาผู้ที่อาศัยในละแวกทุงกัสนั้นต่างให้การเป็นเสียงเดียวกันว่า ขณะเกิดการระเบิดนั้นพวกตนแสบตาจ้าไปหมดด้วยแสงอันขาวนวลอย่างที่ไม่เคยพบ เคยเห็นมาก่อน แสงนั้นทำให้ดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์ที่กำลังส่องสว่างนั้นมืดมิดไปชั่วขณะ และเกิด “เสาไฟมหึมา” พลุ่งขึ้นมาจากพื้นโลก

         เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ยังคงปรากฎอยู่ในทุ่งทุงกัสแม้จนกระทั่งวันนี้อันเป็นเวลาเกือบ หนึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม คือ สภาพหงิกงอของไม้ไร่ในป่าแถบนั้น กระหย่อยใหญ่เหมือนกับถูกมือยักษ์ทึ้งและเผาราบ ไม้ใหญ่น้อยนี้ถึงแม้ว่าจะตายไปแล้วแต่ก็ไม่มีไม้ต้นใหม่เกิดขึ้นนักวิทยา ศาสตร์ได้บุกบั่นเข้าไปทำการสำรวจค้นคว้าบริเวณนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่มีใครลงมติเห็นพ้องกันว่าสาเหตุของปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ว่าจะเห็นตรงกันว่ามันเป็นหายนะที่มาจากฟากฟ้าเหนือหัว

         สาเหตุที่เกิดการทำลายป่าครั้งใหญ่ และสิ่งประหลาดที่ชาวทุงกัสยุคนั้นได้พบเห็นชนิดตายไปก็ยังลืมไม่ลงนั้นยัง มีการโต้แย้งต่างๆนานา อะไรเกิดขึ้นที่ไซบีเรียครั้งนั้นตอนนี้สามารถแยกสาเหตุออกไปได้คือ ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากการที่สะเก็ดดาวขนาดมหึมาชิ้นหนึ่งหล่นเข้ามา อยู่ในปริมณฑลแรงดึงดูดของโลก แล้วก็เลยถูกดูดลงมาถล่มเอาบริเวณดังกล่าว เหตุผลหนึ่งไปไกลกว่านั่นคือเชื่อว่าอาจจะมีมนุษย์ต่างดาวนำยานของตนมาฉวัด เฉวียนทำนองสำรวจโลกพระเคราะห์ที่มนุษย์อาศัยอยู่ และให้เกิดอุบัติเหตุเชื้อเพลิงคือพลังนิวเคลียร์ในยานลำนั้นแผลงฤทธิ์ปึง ปังออกมา มันก็เท่ากับการหยอดระเบิดนิวเคลียร์ลงไปบนทุ่งทุงกัสที่ว่าทำให้แหลกลาญไป หมด

          แต่ทฤษฎีล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งไว้สำหรับกรณีลึกลับแห่งทุง่ทุงกัสนี้ คือ อาจจะเป็นไปได้ที่โลกเจอเข้ากับรายการ “แทะเล็ม” ของปรากฎการณ์ชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งจะมีการค้นพบกันไม่นานมานี้ที่เผอิญเป็นปรากฎการณ์ระดับไม้จิ้มฟัน ของเอกภพ นั่นคือผลจากการอาละวาดของเจ้าแบล็ค โฮล

         เรื่องนี้ก็อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อภินิหารเจ้าหลุมดำ”

         หลุมดำหรือแบล็ค โฮลนี้เป็นภาพที่มองไม่เห็นในเอกภพ แต่ว่ามันสัมผัสได้ด้วยการสังเกตได้ด้วยผลที่บังเกิดขึ้นรอบๆ ตัวของมัน ก็คือการหายไปของดาวต่างๆ ที่กล้องโทรทัศน์จากผิวโลกมองออกมาและบันทึกเอาไว้เปรียบเทียบกัน แสดงถึงอำนาจอันมหาศาลของเจ้าตัวร้ายแห่งเอกภพ

         ในปี พ.ศ. 2447 เอฟ.ดับเบิลยู เบสเซล นักดาราศาสตร์สำคัญคนหนึ่งแห่งหอดูดาวคอนิกบูร์ก ของปรัสเซียปัจจุบันคือหอดูดาวแห่งคาลินนินกราด สหภาพโซเวียตได้เฝ้าสังเกตดาวฤกษ์สำคัญดวงหนึ่งที่รู้จักกันมากแต่สมัยดบราร ก็คือซิริอุส หรือดาวหมาที่ชาวไอยคุปต์ถือเป็นดาวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และพบโดยบังเอิญว่าดาวซิริอุสนี้มิได้เดินไปตามที่ตามทางของมัน หากแต่ดูเหมือนคล้ายกับว่ากำลังอยู่ในวิถีที่จะหลับอะไรสิ่งหนึ่งที่มองไม่ เห็น

         นักดาราศาสตร์รุ่นหลังจากเบสเซลได้ติดตามสานต่องานของเขาและพบว่า ใกล้เคียงกับดาวซิริอุสนั้น มีดาวดวงหนึ่งขนาดเล็กกว่ากำลังมีแสงริบหรี่ลงไปกว่าปกติแต่ในไม่นานหลังจาก นั้น มันก็ส่งแสงสว่างจ้าข่มดาวซิริอุสซึ่งว่าสว่างแล้ว เป็นปรากฎการณ์ต่อเนื่องอยู่หลายปี แล้วจากนั้นมันก็หายไปจากกล้องโทรทัศน์ หลังจากที่มันหายไปแล้วนั่นเอง ปรากฏว่าจำนวนดาวน้อยๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในละแวกที่อยู่ใกล้เคียงกับดาวที่หายไปนั้นลดลง เรื่อยๆ และก็ทรงตัวอยู่ชั่วระยะหนึ่งจากนั้นก็ลดจำนวนลงไปอีก จนละแวดนั้นนอกจากดาวซิริอุสแล้ว เป็นที่เวิ้งว้างว่างเปล่าปราศจากดาว เหมือนกับใครไปถอนหญ้าในแปลงเล็กๆ เสียเตียน

         ปรากฏการณ์ที่รวบรวมได้จากการสังเกตนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาศึกษาวิจัยกันแล้ว และพบว่าเป็นกำเนิดของหลุมดำหรือสัตว์ร้ายแห่งเอกภพอันเนื่องจากการถึงแก่ กาลอวสานของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่

         มีการเอากรณีปรากฎการณ์ประหลาดที่ไซบีเรียครั้งนั้นมาพิจารณาประกอบด้วย นักเคมีชาวอเมริกันนายหนึ่ง ก็คือ วิลลาร์ด ลิบบี้ อดีตสมาชิกของคณะกรรมการพลังงานปรมาณูของสหรัฐ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในฐานะค้นพบวิธีการตรวจสอบอายุของสสารด้วย ระบบกัมมันตรังสีคาร์บอน ได้ร่วมกับพรรคพวกอีกสองคนทำการทดลองพบว่า การเคลื่อนไหวของสิ่งสองสิ่งในอวกาศคือสสารกับตัวต้านสสารนั้น ทำให้เกิดพลังงานอย่างใหญ่หลวงมหาศาล และปรากฎการณ์นี้อาจจะเป็นไปได้เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเฉียดเข้ามา ใกล้และถูกโลกดึงลงมาแผลงฤทธิ์กันบนทุ่งไซบีเรีย

         แต่ว่าสิ่งที่เรารู้กันในทุกวันนี้เกี่ยวกับอสูรร้ายในเอกภพคือ แบล็ค โฮลนั้น มันเกิดขึ้นจากผลของการที่แก๊สในดาวฤกษ์ซึ่งมีกลุ่มก้อนมหึมาเกิดการหลอมตัว ของนิวเคลียร์เข้าด้วยกัน เป็นลักษณะของการแปลงธาตุจากธาตุหนึ่งไปยังอีกธาตุหนึ่ง โดยเฉพาะจากไฮโดรเยนเป็นฮีเลียม การแปลงธาตุจากการหลอมตัวของนิวเคลียสนี้ผลพวงที่แนบมาด้วยก็คือพลังงานความ ร้อนที่เกิดจากระเบิดนิวเคลียร์ที่มนุษย์สามารถสร้างมันขึ้นมาได้แรงที่สุด

         พลังงานมหาศาลที่มีทั้งความร้อนระคนปนเข้ากับแสงและรังสีอื่นๆ อันเกิดจากการหลอมตัวแปลงธาตุนี้จะผลักดันปรมาณูและอณูต่างๆ ออกจากกัน แต่ในเวลาเดียวกับที่มีแรงผลักดันปรมาณูออกจากกันนี้ก็พลอยหมดไปตามไปด้วย คงเหลือแต่แรงดึงดูดให้ปรมาณูวิ่งเข้ามากันอยู่แรงเดียว

         เมื่อมีแต่แรงดึงปรมาณูเข้าหากันอยู่แต่ลูกเดียวเช่นนี้ ดาวฤกษ์ที่ดันเผาไหม้ตัวเองขึ้นมานั้นก็จะเริ่มหดตัวเล็กลงกว่าขนาดของเดิม และก็หดตัวลงไปเรื่อย แต่ว่าจะหดใหญ่เล็กแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าดาวฤกษ์ดวงเดิมนั้นมันใหญ่โต แค่ไหน ดาวฤกษ์ขนาดย่อมๆ หน่อยก็จะหดตัวมาเป็นดาวฤกษ์นิวตรอน ซึ่งในตัวของมันนั้นก็จะประกอบด้วยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เขาเรียกว่า “สารควบแน่น” และสารควบแน่นพวกนี้จะเป็นสสารที่ไม่มีอนุภาคไฟฟ้าอยู่ในตัวเหมือนกับสสาร ทั่วไป นั่นเองที่เขาเรียกมันว่า “นิวตรอน” หรือ “สารเป็นกลาง”

         แต่ที่น่าทึ่งและมหัศจรรย์ที่สุดที่นักวิทยาศาสตร์เขาว่ากันไว้นั้นก็คือ เจ้าสารควบแน่นนี้ปริมาณเพียงแค่หัวไม้ขีดเท่านั้นมันจะหนักเป็นพันล้านตัน หรืออีกนัยหนึ่งหนักยิ่งกว่าภูเขาหิมาลัยหรือเขาพระสุเมรุเสียอีก

         แต่ดาวฤกษ์ที่เอาแต่หดตัวไปนั้นก็ไม่ได้หยุดหดไปแม้แต่น้อย คงทำการก้มหน้าก้มตาลดขนาดของมันด้วยการหดต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุดมันก็ไม่มีขนาด ไม่มีอะไรทั้งสิ้น นอกจากสภาพใหม่ที่มองไม่เห็น และที่นักวิทยาศาสตร์เขาเรียกว่า “หลุมดำ” หรือ “แบล็ค โฮล” นั่นแหละ

         ทั้งหมดนี้ออกจะเป็นเรื่องฟังหนักสมองเอาสักหน่อยแต่นี่ขนาดผมพยายามเรียบ เรียงเอาคำอธิบายของนักวิทยาศาสตร์ไต่บันไดลงมาถึงพื้นให้ท่านผู้อ่านพอเข้า ใจแล้วนะครับ มันเป็นศาสตร์ในเรื่องกฎของฟิสิกส์ที่เขาว่าเอาไว้ แค่ถอดเอามาง่ายๆ ผมยังต้องนอนก่ายหน้าผากอยู่หลายตลบกว่าจะออกมาเขียนได้อย่างนี้

         ก็นักวิทยาศาสตร์นั่นแหละที่ว่าไว้ว่า เจ้าหลุมดำอินวิซิเบิ้ลตัวนี่แหละที่มันมีสนามแม่เหล็กอยู่สูงมหาศาล อำนาจทางแม่เหล็กของมันนี่เองที่เที่ยวไปดูดดาวที่มันผ่านเข้าไปใกล้เคียง เข้าไปหามัน และก็จัดการเขมือบดาวนั้นๆ เข้าตัวมันหายวับไป เหมือนกับเป็นอาหารโอชะแล้วเมื่อดาวทั้งหลายถูกดูดกลืนเข้าไปในหลุมดำนั้นก็ ยิ่งจะไปเพิ่มแรงดึงดูดให้กับเจ้าตัวหลุมดำจอมเขมือบนี้มากขึ้นไปอีก

         พฤติการณ์ของเจ้าหลุมดำนี้แหละที่เห็นๆ กันว่าเปรียบเสมือนสัตว์ร้ายที่ซุ่มอยู่ในกาแลกซี่ของเรา และบางทีอาจจะอยู่ในกาแลกซี่อื่นๆ อีกหมื่นล้านอสงไขยในความเวิ้งว้างหาที่สิ้นสุดมิได้ของจักรวาล

         ถึงเวลานี้นักวิทยาศาสตร์อเมริกากันกำลังบอกว่าเจ้าหลุมดำที่หยุดนิ่งย่อย อาหารดาวที่มันก้มหน้าเขมือบไปพักหนึ่งนั้น เริ่มขยับเขยื้อนท้องร้องขึ้นมาแล้ว และก็กำลังเริ่มเขมือบดาวฤกษ์ที่ตุปัดตุเป๋เข้าไปใกล้ๆ มันเป็นอาหารอีกครั้งหนึ่ง ฟังแล้วก็น่าขนหัวลุก

         หลุมดำนี้มันคืออะไรกันแน่ เราเห็นจะต้องรอไปสักปีสองปีอาจจะรู้จักมันมากกว่าที่รู้อยู่แล้ว เพราะจากวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ขณะนี้นักดาราศาสตร์สามารถที่จะส่งกล้องส่องดาวหรือกล้องโทรทัศน์ออกไปเล็ง ดูกันได้นอกโลกแล้ว โดยฝากไปกับบัลลูนที่ส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศแล้วส่งภาพข้อมูลต่างๆ กลับมาดูกันเพื่อตัดสินกันให้แน่ชัดว่าเจ้าจอมเขมือบนี้มันคืออะไรกันแน่
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่ไอน์สไตน์สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นทฤษฎีสำคัญ ที่ช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์ เข้าใจธรรมชาติของหลุมดำ ทฤษฎีนี้ได้เสนอวิธีการค้นหาหลุมดำ โดยให้หลักการว่าการที่หลุมดำ มีแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงที่มากมหาศาล จะทำให้ดาวต่างๆ ที่โคจรอยู่ใกล้หลุมดำมีสิทธิ์ถูกหลุมดำ ดึงดูดเข้าไป คือ "กลืน" ดาวทั้งดวงและทั้งเป็น และเมื่อหลุมดำ "กิน" ดาวเข้าไปแล้วขนาดและมวลของมันก็ จะมากขึ้น หลุมดำจะมีมวลมากเพียงใด ก็ขึ้นกับว่า มันได้ "บริโภค" ดาวเข้าไปมากน้อยเพียงใด ในธรรมชาติเราอาจจะพบหลุมดำ ที่มีมวลมากถึงพันล้านล้านเท่า ของดวงอาทิตย์ และหลุมดำอาจจะมีขนาดใหญ่ เท่าสุริยจักรวาลก็ได้เหมือนกัน
สำหรับขั้นตอนที่หลุมดำ กินดาวทั้งเป็นนั้น นักดาราศาสตร์ได้คาดคะเนว่า เมื่อดาวดวงที่ถึงฆาตซึ่งมีองค์ประกอบ เป็นก๊าซ (เช่น ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก คือ ไฮโดรเจน) ถูกหลุมดำกลืน พวยก๊าซจากดาวจะถูกดึงดูด ให้ไหลพุ่งเป็นเกลียวสู่หลุมดำ และเมื่อเกลียวก๊าซยิ่งเข้าใกล้ใจกลาง ของหลุมดำ แรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงก็ยิ่งสูง แรงดึงดูดที่มากมหาศาลนี้ จะทำให้ก๊าซมีความเร่งสูงมาก อะตอมของก๊าซจะแตกตัวและก๊าซ ที่ถูกเร่งนี้จะเปล่งรังสีต่างๆ ออกมามากมาย เช่น รังสีเอกซ์ (X-ray) รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) หรือรังสีแกมมา (gamma) เป็นต้น ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นรังสีต่างๆ แผ่กระจายจากพวยก๊าซที่กำลังไหลสู่บริเวณที่ดูจากภายนอกเสมือนว่าไม่มีอะไร เลย เขาก็จะอนุมานทันทีว่าบริเวณนั้นมีสิทธิ์เป็นหลุมดำ
ตามปกตินักวิทยาศาสตร์ จะไม่เชื่อในคำพยากรณ์ใดๆ จนกว่าจะมีการทดลอง หรือพิสูจน์ให้เห็นจริง ดังนั้นในกรณีหลุมดำก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าทฤษฏีของไอน์สไตน์ที่ประเสริฐ และถูกต้องจะทำนายว่า ในจักรวาลของเรามีหลุมดำ เราก็ยังไม่เชื่อ ยังไม่ยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์ จนกว่าจะมีคน "เห็น" หรือมีหลักฐานที่ แสดงให้เห็นว่าหลุมดำมีจริง
วิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการค้นหาหลุมดำนั้นมีมากมาย นักวิทยาศาสตร์คนใดจะใช้วิธีการใด ก็ขึ้นกับว่า หลุมดำนั้นมีขนาดใหญ่มโหฬารปานใด ในกรณีของหลุมดำที่มีมวลมากว่า ดวงอาทิตย์สิบเท่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปทำนายว่า หลุมดำที่มีมวลมากเช่นนี้มักจะเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์แบบซูเปอร์โนวา (supernova) และขณะมันจบชีวิตเปลือกผิวนอกของดาวจะถูกพลังระเบิดขับให้แตกกระจัดกระจายไป ในอวกาศ แต่ส่วนแกนกลางของดาว จะถูกแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงบีบอัด จนกลายสภาพเป็นหลุมดำ ทว่าดาวนิวตรอนซึ่งเป็นดาว ที่ประกอบด้วยอนุภาคนิวตรอนล้วนๆ ถือกำเนิดในลักษณะเดียวกัน (เพียงแต่ว่าแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วง ที่ดาวนิวตรอนมีค่าต่ำกว่าแรงดึงดูดของหลุมดำเท่านั้นเอง) ดังนั้นปัญหาจึงมีว่า เวลานักวิทยาศาสตร์เห็นหลุมดำกับดาวนิวตรอนจากตำแหน่งที่อยู่ไกลเป็นล้านปี แสง เขาจะบอกความแตกต่างได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ เพราะดาวนิวตรอนตามปรกติจะมีมวลไม่เกินสามเท่าของดวงอาทิตย์ ดังนั้นวัตถุใดก็ตามที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัย แต่นักดาราศาสตร์พบว่ามีมวล มากกว่าสามเท่าของดวงอาทิตย์ วัตถุนั้นก็จะไม่ใช่ดาวนิวตรอนทันที อย่างไรก็ตามยัง มีนักวิทยาศาสตร์หลายคน ที่ชี้ให้เห็นว่าการที่ใครจะกล่าวว่า วัตถุลึกลับใดที่ไม่มีแสงในตัวเอง และมีมวลมากกว่าสามเท่าของดวงอาทิตย์ จัดเป็นหลุมดำทุกครั้งไป ก็ดูเป็นเรื่องที่ไม่น่า จะยอมรับกันง่ายๆ การพิสูจน์การเป็นหลุมดำ จึงต้องอาศัยหลักฐาน มากกว่าตัวเลขมวลอีกหลายประการ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ได้แถลงไว้ว่าเวลาก๊าซไหลลง สู่หลุมดำมันจะไหลลงไปเป็นเกลียว วนคล้ายก้นหอย และการไหลนี้จะไหลเป็นระนาบ จึงทำให้พวยก๊าซมีลักษณะคล้ายวงแหวนของดาวเสาร์ โดยก๊าซที่อยู่บริเวณใน ของวงแหวนจะร้อนมากกว่าก๊าซที่อยู่บริเวณ นอกของวงแหวน การมีอุณหภูมิต่ำทำให้ก๊าซ ในบริเวณนอกเปล่งแสง ที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ส่วนก๊าซที่อยู่บริเวณในของวงแหวนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าเพราะร้อนกว่า จะเปล่งรัวสีเอกซ์ ดังนั้นความสว่างของบริเวณต่างๆ ของวงแหวนจะเป็นตัวดัชนีชี้บอกให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า ก๊าซที่กำลังไหลเทจากดาวฤกษ์ลงสู่หลุมดำมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด ในกรณีของหลุมดำขนาดใหญ่ อัตราการไหลของก๊าซ อาจจะคิดเป็นมวลมาก เท่ากับน้ำหนักของดวงอาทิตย์ ถึงล้านล้านดวง/ปี


หลุมดำ (Black Holes) หลุมดำกำเนิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัย ความน่าพิศวงของหลุมดำก็คือ
มันมีความหนาแน่นมากจนกระทั่งไม่มีสิ่งใดๆจะหลุดรอดจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันได้แม้กระทั่งแสง
ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบหลักฐานว่าหลุมดำมีอยู่จริง และยังพบว่ามีหลุมดำยักษ์ที่เรียกว่า
Supermassive Black Holes ซึ่งมักจะอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซี่ด้วย
ภาพหลุมดำรุนแรงใจกลางกาแลกซี NGC 1097



กาแลกซีที่ขดเป็นวงพร้อมทั้งมีวัตถุคล้ายดวงตาตรงใจกลางเป็นที่อยู่ของหลุม ดำที่ถูกซุกซ่อนและห้อมล้อมด้วยดาวฤกษ์ที่กำลังถือกำเนิด นี่คือกาแลกซี NGC 1097 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 50 ล้านปีแสง มันมีโครงสร้างแขนเกลียวคล้ายกับกาแลกซีทางช้างเผือกของเรา(Milky Way) “ดวงตา” ที่ใจกลางกาแลกซีเกิดจากหลุมดำอันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งไม่สามารถมองเห็นแต่ถูกล้อมรอบด้วยดาวฤกษ์และดาวฤกษ์เกิดใหม่ที่กราด เกรี้ยว ภาพถ่ายจากย่านรังสีอินฟราเรด(infrared) โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) แสดงพื้นที่รอบๆ หลุมดำที่มองไม่เห็นด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินและขาว  
หลุมดำไม่สามารถมองเห็นได้เนื่องจากมวลและแสงถูกแรงโน้มถ่วงอันรุนแรงของ หลุมดำดักจับเอาไว้ ทำให้ไม่มีอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลุดรอดออกมาจากหลุมดำ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นหาหลุมดำได้โดยสังเกตอันตรกิริยาเชิงโน้มถ่วงกับ เทหวัตถุข้างเคียง หลุมดำมีมวลประมาณ 100 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ ในขณะที่หลุมดำใจกลางทางช้างเผือกมีมวลไม่กี่ล้านเท่าของดวงอาทิตย์เท่านั้น George Helou รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สปิตเซอร์ (Spitzer Science Center) ของนาซา ที่สถาบันคาลิฟอร์เนียเพื่อเทคโนโลยี (California Institute of Technology: CalTech) ระบุว่าหลุมดำและดาราจักรแห่งนี้มีประโยชน์ในการวิจัย และพิสูจน์ทฤษฎีที่อธิบายว่าหลุมดำอาจสงบลงและท้ายที่สุดจะเข้าสู่สภาวะสงบ เช่นเดียวกับหลุมดำของกาแลกซีทางช้างเผือก  
วงแหวนรอบๆ หลุมดำคือดาวฤกษ์ใหม่ที่กำลังก่อตัวและประทุ วัสดุที่ไหลเข้าไปยังส่วนบาร์ศูนย์กลางของกาแลกซี ทำให้เกิดวงแหวนอันสว่างไสวไปด้วยดาวฤกษ์ดวงใหม่ ซึ่งมีอัตราการเกิดสูงมาก แขนเกลียวสีแดงของกาแลกซีบ่งบอกว่ามีฝุ่นอวกาศในบริเวณดีงกล่าวร้อนขึ้น เพราะความร้อนจากดาวฤกษ์ดวงใหม่ ดาวฤกษ์อายุมากกระจัดกระจายไปทั่วกาแลกซีถูกแสดงเป็นสีฟ้า ส่วนจุดสีฟ้าเลือนๆ บริเวณด้านซ้ายซึ่งอยู่ระหว่างแขนเกลียวเป็นกาแลกซีบริวาร ภาพถ่ายเหล่านี้ถ่ายในช่วง “ภารกิจเย็น” ซึ่งทำงานมากว่าห้าปีครึ่ง สารเคมีหล่อเย็นของกล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์ลดลงเกินกว่าระดับที่จำเป็นในการ ทำความเย็นให้กับอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีอินฟราเรดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีช่องสัญญาณสองช่องยังสามารถถ่ายภาพได้ใน “ภารกิจร้อน” ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นในอีกหนึ่งสัปดาห์หรือนานกว่า โดยทำการปรับแต่งค่าให้มีอุณหภูมิทำงานพื้นฐานที่ 30 เคลวิน (-243 องศาเซลเซียส)



บันทึกการเข้า


I'M SORRY
Sir-Drag-A-Lot
สมเจตน์ การช่าง
หจก. พูนทอง เซอร์วิส PTS

Aoffii@ImSry
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,020


สิบคนในวงเหล้า คงไม่อบอุ่นเท่าหนึ่งคนในวงแขน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #72 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:50:40 »

Black hole ความหมายในทางตรงว่า ประเภทหลุมลึกลับที่ไม่มีก้นหลุม กำหนด โดย John Archibald Wheeler ค.ศ.1967 เมื่อพิสูจน์ในทางฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ แล้ว Black hole มีจริงไม่ใช่เรื่องเท็จ สามารถสำรวจพบบริเวณใด ก็ตามที่เกิดขึ้น ในกรณีแหล่งจบสิ้นอายุขัยของดาว
แต่เรามองไม่เห็น เชื่อว่ามีเป็นจำนวนพันล้านแห่งในจักรวาล เป็นกฎเกณฑ์ของ ฟิสิกส์ และกฎเกณฑ์ความแปลกประหลาด ของแรงดึงดูด ด้วยทุกวัตถุที่อยู่ใน จักรวาลจะผูกมัดกัน ด้วยแรงดึงดูด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานแม่เหล็ก พลังงานความกดดันแข็งแกร่ง ครอบคลุมกว้างไกลทั่วไป สุดขอบจักรวาล
รูปทรงสัณฐานของหลุมดำ
มวลวัตถุขนาดใหญ่เท่าใดก็ตาม เมื่อโคจรเข้าสู่ใกล้สภาวะเขตหลุมดำ ถูกบีบอัด บีบคั้นให้เล็กลงๆ เล็กลงๆอย่างไม่จุดสิ้นสุด สู่ใจกลางบริเวณ Central singularity (จุดพิศวง) เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อแม้กระทั่งแสง ก็ถูกอัดแน่นรวมเข้า ไปด้วยอย่าง ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ
พบครั้งแรกสรุปผลโดย Karl Schwarzschild นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน จึงเรียกว่า Schwarzschild radius คือ ขอบวงรัศมีของหลุมดำ ชนิดที่ไม่มีการหมุนปั่นเป็น *Censer*ส่วนพื้นที่ของหลุมดำ ขนาดสำรวจพบรัศมีราว 6 ไมล์
โดยเนื้อแท้หลุมดำ อาจแสดงตัวขอบวงรัศมีใหญ่หรือเล็กก็ได้ แต่จะไม่ใหญ่โต มาก เพราะไม่จำเป็นต้องมีความเป็นปึกแผ่นของพื้นผิววัตถุซึ่งต่างจากวัตถุอื่นๆ ในจักรวาลเท่าที่เคยพบ


Schwarzschild radius รูปแบบหลุมดำที่ไม่มีการหมุน
มีจุดศูนย์กลาง Central singularity (จุดพิศวง)
สำรวจพบครั้งแรกโดย Karl Schwarzschild นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

Non-spinning Black hole คือ หลุมดำที่มีรูปแบบสัณฐานไม่มีการหมุนปั่น


Spinning Black hole คือ หลุมดำที่มีรูปแบบสัณฐานมีการหมุนปั่น
เบื้องต้นข้อสรุปสัณฐานหลุมดำแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
Non-spinning Black holes คือ หลุมดำที่มีรูปทรงสัณฐานไม่มีการหมุนปั่น พบว่ามีการเปล่งแสงจากธาตุเหล็ก (Iron emission) จากก๊าซร้อนที่เกาะพอก รอบ ๆแผ่นจาน (Accretion disk) เป็นอะตอมใกล้กับบริเวณหลุมดำ เปล่งแสง รังสีออกมา ด้วยค่าพลังงานต่ำ
Spinning Black holes คือ หลุมดำที่มีรูปทรงสัณฐานมีการหมุนปั่นพบอนุภาค ที่ใกล้หลุมดำ เป็นสิ่งที่ทำให้มีโอกาสเกิดริ้วคลื่นของ Space-time จะหมุนปั่นช้า หรือเร็วได้
การหมุนปั่นดังกล่าวจะกวาด ลากดึงไปโดยรอบอวกาศ ยิ่งเป็นการดึงอะตอมเข้า ใกล้มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของแรงโน้มถ่วง จนชะงัก กระทบให้หยุด หมุนปั่น เกิดรังสี X-ray จาก Iron อะตอมที่แกว่งไปมา ด้วยค่าพลังงานต่ำ

ระบบการหมุนตัวของ Black hole มีขอบเขตวง 2 ชั้น
Outer event horizon (วงชั้นนอก) และ Inner event horizon (วงชั้นใน) โดยเขตจำกัด Static limit (ขอบวัตถุและกำลังที่อยู่คงที่)
จุดศูนย์กลางคือ Ring singularity (วงแหวนพิศวง)
การหมุนรอบแกนหลุมดำ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดปลีกย่อยและยุ่งยากของตำแหน่ง ที่ตั้ง ล้อมรอบด้วยแรงฉุดดึงมากมายในอวกาศ ระบบการหมุนปั่นของหลุมดำมี ขอบเขตวงเหตุการณืที่เกิด 2 ชั้นและโครงสร้างดังนี้
Outer event horizon คือ ขอบเขตเหตุการณ์ชั้นนอก และ Inner event horizon คือ ขอบเขตเหตุการณ์ชั้นใน ส่วน Ergosphere คือ บริเวณที่ผูกมัดระหว่าง วงขอบเขตเหตุการณ์ด้านนอก กับแนวขอบเขตจำกัด Static limit (ขอบวัตถุและ กำลังที่อยู่คงที่) ตรงจุดศูนย์กลางคือ Ring singularity คือ วงแหวนพิศวง (หรือจุดศูนย์กลางพิศวง)
การศึกษาเพิ่มเติมใหม่ได้เปิดเผยโครงสร้างหลุมดำ ที่เรียกว่า Black holes X-ray nova แสดงโครงสร้างก๊าซ ดูดออกมาจาก ดวงดาว ด้วยแรงโน้มถ่วงจากหลุมดำ หมุนปั่นอย่างเป็นรูปแบบ ทำให้ก๊าซมารวมตัวกันเป็นวงรอบๆ เห็นแบบสลัวๆ เมื่อระบบมีความสมบูรณ์ จะมองไม่เห็น เพราะไม่มีพื้นผิว จุดศูนย์กลางมืดสนิท
และ Neutron star X-ray nova แสดงโครงสร้างก๊าซท่วมล้นทับถม ลงสู่ด้านใน ของ ดาวนิวตรอน โดยก๊าซเริ่มรวมตัวกับดาว หลังจากนั้นเกิดหลุมดำเข้าแทนที่ แรงโน้มถ่วง กระทำให้ก๊าซนั้นสลัวลง ขณะเดียวกันก๊าซจู่โจมพื้นผิวดาวนิวตรอน เกิดแสงสว่างขึ้น


แบบแผนระบบไฟฟ้าของหลุมดำ
ระบบของหลุมดำที่น่ากังขา
บริเวณด้านนอกใกล้หลุมดำ มีปรากฎการณ์ Magnetic field lines (เส้นสนามแม่ เหล็ก) สร้้างรัศมีของแสงรอบขอบหลุมดำ เส้นสนามแม่เหล็กเหล่านี้มีพลังงาน สูงเป็นพิเศษ พุ่งเป็นลำไฟฟ้าออกมาจากหลุมดำ ยิ่งเพิ่มค่ารังสี X-ray
ภายในหลุมดำ ยังทราบไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากภายในมืดปราศจากแสงและยัง ไม่มีเครื่องมือใดๆ จะเข้าไปสำรวจภายในหลุมดำได้ ทางทฤษฎีเชื่อว่ามวลภายใน ทั้งหมดซ้อนเป็นชั้นๆเหมือนเยื่อหุ้ม เป็นจุดๆเดียวอยู่ตรงกลาง เรียกว่า จุดพิศวง
เข้าใจว่า แบบแผนใจกลางหลุมดำ มีความต้องการหลอมละลายตามกฎเกณฑ์ แรงโน้มถ่วง ในคุณสมบัติแบบ Smallest scales (ขนาดเล็กย่อย) หรือเรียกว่า Quantum mechanics (เป็นการรวมกันระหว่าง กลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎี สัมพัทธ์ภาพพิเศษ) แต่ยังเป็นปัญหาลึกลับ ด้วยปัญหาการอธิบายในด้านฟิสิกส์ 
เชื่อว่าภายในหลุมดำมีลักษณะซ้อนเป็นชั้นคล้ายเยื่อหุ้ม

ประเภทของหลุมดำที่สำรวจพบ
ประการสำคัญ หลุมดำ มีความแตกต่าง จากสิ่งต่างๆในจักรวาลโดยสิ้นเชิง เพราะ ความผันผวนเกิดขึ้นโดยรอบ ด้วยลักษณะหลักพิเศษ 3 ประการ ประกอบกัน คือ
ด้วยจำนวนมวลสสาร ว่ามีจำนวนเท่าใด ด้วยการหมุนปั่นรอบแกน ด้วยความเร็วเท่าใด และด้วยเรื่องแบบแผนประจุไฟฟ้าของหลุมดำ
หากองค์ประกอบทั้งหมด มีความสมบูรณ์ หลุมดำจะเริ่มดูดกลืนวัตถุต่างๆทันที การสำรวจตรวจวัดจำนวนมวล สามารถศึกษาวัตถุดิบ รอบๆหลุมดำได้ แต่ก็นับว่า เป็นเรื่องยาก เดิมสำรวจตรวจพบเพียง 2 ประเภท คือ Stellar-mass และ Super massive (บางสถาบันกำหนดเพิ่มเติมประเภท Mid-mass จึงรวมเป็น 3 ประเภท) ในอนาคตอาจมีประเภทมากขึ้นอีกได้
การดูดกลืน Yellow star ของหลุมดำใจกลาง Galaxy RX J1242-11
Stellar-mass black holes
ประกอบด้วยความหนาแน่นของมวล 5 - 100 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นด้วย พัฒนาการวงจรดาวขั้นสุดท้าย ขนาดมวลมีความหนาแน่น ของธาตุหนักมากกว่า ดวงอาทิตย์ หรือ ระดับดาวทั่วไป โดยดาวได้พลังงานจาก หลอมละลายเผาไหม้ ภายในแกนถึงระยะเวลาหนึ่ง (นับหลาย พันล้านปีหรือมากกว่า) เชื้อเพลิงหมดสิ้น ทุกอย่างยุบตัวลง สู่จุดศูนย์กลางด้วยความหนาแน่นสูง เกิด Deep gravitational warp (แนวโค้งงอด้านลึกของแรงโน้มถ่วง) ในอวกาศ เรียกว่า หลุมดำประเภท Stellar-mass (มวลจากดาว)
หลุมดำประเภทนี้ ไม่มีพื้นผิวเช่นดาว เกิดขึ้นที่ใดก็ได้ มีขอบเขตเท่าใดก็ได้โดย มองไม่เห็นในอวกาศเรียกว่า Event horizon (ขอบเขตเหตุการณ์) หากมีวัตถุใด ก็ตาม ผ่านเข้าสู่ Event horizon ก็จะถึงวาระถูกกำจัด ด้วยแรงโน้มถ่วงบีบอัด ไม่เห็นแสง ไม่สามารถ X-rays ได้ในขณะเกิด ไม่มีรูปแบบ Electromagnetic radiation(รังสีสนามแม่เหล็ก) ไม่แสดงอนุภาคใดๆ ไม่แสดงค่าพลังว่ามีเท่าใด จากมวล แต่ความสามารถดูดกลืนบีบอัด
Mid-mass black holes
เป็นประเภทใหม่ที่สำรวจพบ ประกอบด้วยความหนาแน่นมวล 500 – 1,000 เท่า ของดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นด้วยการพัฒนาการวงจรดาว ขั้นสุดท้ายเป็นการเกิดสืบ เนื่องด้วยธรรมชาติ พัฒนาการวงจรดาวแบบมวลแน่นหนา สามารถค้นหาสังเกต จากดาวที่มีการเร่งความเร็วของวงโคจรอย่างไม่เคยพบ มาก่อนหน้านี้
Supermassive black holes
ประกอบด้วยความหนาแน่นของมวล นับล้านเท่าของดวงอาทิตย์ หรือเทียบระดับ กาแล็คซี่ขนาดเล็ก เป็นแบบฉบับความพิศวงของจักรวาล สำรวจพบในบริเวณจุด ศูนย์กลางกาแล็คซี่ ยังไม่ทราบถึงสภาพรูปแบบตั้งต้นว่า เป็นการยุบตัวของ กลุ่มหมอกก๊าซในกาแล็คซี่ หรือจากสะสมทีละน้อยจากหลุมดำ ในกลุ่ม Stellar black holes ที่ท่วมล้นทับถมกัน หรือผสมรวมกันของหลุมดำจาก กลุ่มกระจุกดาว หรืออาจจากกลไกอื่นๆในจักรวาล
สามารถค้นหาสังเกตจากกลุ่มหมอกก๊าซ หมุนวนแบบ Swirling (คล้ายวังวนน้ำ) รอบๆ หลุมดำ (โดยมองไม่เห็นตำแหน่งหลุมดำ) ด้านเทคนิค ใช้วิธีตรวจสอบ X-ray ค่าสะท้อนของแสง เพื่อหาค่าจากมวลรอบๆหลุมดำ ที่ท่วมล้นออกมาด้วย ความกดดัน
การหมุนปั่นตัวเองด้วยความเร็วสูง สร้างพลังความแข็งแกร่งสนามของแรงโน้มถ่วง (Powerful gravitational field) ความสามารถหมุนปั่นรอบแกน ด้วยความเร็วโดย ไม่มีขีดจำกัด ปราศจากแสงที่โผล่ออกมา แม้มีประจุไฟฟ้าเพราะจะหักล้างประจุ อย่างรวดเร็วจากการดูดกลืนวัตถุ สวนทิศทางสนามแม่เหล็กในทันที


ไม่เคยพบมาก่อน "หลุมดำคู่" โคจรรอบกันราวกับกำลังเต้นรำ

หลุมดำ" ที่น่าสะพึงกลัว มีอยู่ทั่วเอกภพ แม้แต่ในทางช้างเผือกของเรา ก็มีหลุมดำยักษ์ที่มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ราวสี่ล้านเท่า หลบซ่อนอยู่ใจกลาง แต่ล่าสุดนักดาราศาสตร์เพิ่งพบ "หลุมดำคู่" ที่โคจรรอบกันและกันอยู่ภายในกาแลกซีเดียวกัน มีขนาดใหญ่กว่าในกาแลกซีของเรามากนัก อีกทั้งยังอยู่ใกล้กันชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน                ตามรายงานของไซแอนทิฟิกอเมริกันและบีบีซีนิวส์ ที่อ้างถึงทอดด์ บอรอสัน (Todd Boroson) และท็อด ลัวเออร์ (Tod Lauer) จากหอดูดาวดาราศาสตร์ทางแสงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Optical Astronomy Observatory: NOAO) ในทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐฯ พบว่า "ควอซาร์” (quasar) หรือวัตถุคล้ายดาว ที่ส่งคลื่นวิทยุหรือพลังงานรูปอื่นออกมา SDSS J153636.22+044127.0 ซึ่งเป็นควอซาร์บ้านใกล้เรือนเคียงกับเรานั้น มีคู่หลุมดำที่โคจรรอบกันและกัน และมีคาบสั้นกว่าระบบคู่อื่นๆ โดยมีคาบโคจรรอบกันราว 100 ปี                เมื่อ เทียบกับหลุมดำทั้งสองนี้แล้ว หลุมดำในทางช้างเผือกของเราเรียกได้ว่าเป็นหลุมดำแคระเลยทีเดียว โดยหลุมดำที่เล็กกว่ามีมวลประมาณ 20 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ขณะที่หลุมดำขนาดใหญ่ประมาณว่ามีมวลเกือบๆ 800 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์เลยทีเดียว                อีกทั้ง ตามข้อมูลการวิเคราะห์ของทีมวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผลงานลงวารสารเนเจอร์ (Nature) ประมาณว่าหลุมดำทั้งคู่อยู่ห่างกัน 1 ใน 3 ปีแสง ขณะที่ดาวข้างเคียง ซึ่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น ยังมีระยะทางมากว่าระยะดังกล่าวประมาณ 13 เท่า                ตามทฤษฎีการก่อตัวของกาแลกซีซึ่งมีหลุมดำอยู่ใจกลางนั้น ทฤษฎีชี้ว่า ตราบเท่าที่กาแลกซีอยู่ใกล้อีกกาแลกซีนั้น หลุมดำของกาแลกซีทั้งสองจะโคจรรอบกันจนกว่าจะรวมกันในที่สุด แต่ทฤษฎีเกี่ยวกับหลุมดำที่อยู่ใกล้กันมากและโคจรรอบกันนั้นไม่มีค่อยมีให้ เห็น                ทางด้านจอน มิลเลอร์ (Jon Miller) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนในแอนน์อาร์บอร์ (University of Michigan at Ann Arbor) เรียกการศึกษานี้ว่า "ตัวอย่างแรกที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ของระบบหลุมดำคู่ที่มีพันธะเหนี่ยวแน่น" โดยก่อนหน้านี้มีระบบคล้ายๆ กัน แต่หลุมดำอยู่แยกกันไกลกว่านี้มาก หรือในกรณีของควอซาร์ที่ชื่อ OJ 287 ก็ยังไม่มีหลักฐานสรุปว่ามีหลุมดำคู่

ณสมบัติทั่วไปของหลุมดำ  หลุมดำ (Black Hole) เป็นอาณาบริเวณในอวกาศที่มีความโน้มถ่วงสูงมาก จนกระทั่งสสารใด ๆ ก็ตามรวมทั้งแสงและสัญญาณต่าง ๆ ที่ตกลงไปในหลุมดำแล้วจะไม่สามารถหลุดรอดออกมาได้อีก แนวคิดเกี่ยวกับการมีอยู่ของหลุมดำในอวกาศ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1783 โดยจอห์น มิชเชล (John Michell) และต่อมาในปี ค.ศ. 1798 โดยปิแอร์ ลาปลาส (Pierre Laplace) ที่เสนอว่าอาจจะมีวัตถุมวลสูงในเอกภพที่ไม่อาจมองเห็นได้เนื่องจากแรงโน้ม ถ่วงที่ผิวสูงเกินไป จนแม้กระทั่งแสงก็มิอาจหลุดลอดไปได้ ณ บริเวณผิวของวัตถุในลักษณะเช่นนี้ ค่าความเร็วหลุดพ้น (Escape Velocity) จะสูงกว่าค่าอัตราเร็วแสงแบบจำลองปัจจุบันของหลุมดำ
ซึ่งอธิบายได้โดยอาศัยพื้นทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้าสสารที่มีมวลเหมาะสมปริมาณหนึ่ง ถูกบีบอัดจนกระทั่งมีขนาดรัศมีวิกฤต (Critical Radius ) ที่เรียกว่า “รัศมีชวาซชิลต์ (Schwarzschild Radius)” แล้ว จะไม่มีสสาร แสง หรือสัญญาณใด ๆ หลุดรอดออกจากวัตถุดังกล่าวนี้ได้ 
ดังนั้นหลุมดำจะเกิดขึ้นได้ เมื่อสสารถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กกว่ารัศมีชวาซชิลต์ และขอบเขตโดยรอบหลุมดำที่มีรัศมีชวาซชิลต์ มีชื่อเรียกว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์ ( Event Harizon )” ความจริงแล้วหลุมดำจะมีลักษณะเป็นวัตถุที่ไม่ได้เป็นของแข็ง แต่เป็นบริเวณในอวกาศที่มีขนาดขึ้นอยู่กับปริมาณของสสารที่ตกสู่ภายใน โดยทั่วไปแล้วรัศมีชวาซชิลต์ มีขนาดเล็กมาก อาธิวัตถุขนาดดวงอาทิตย์ ถ้ายุบตัวเป็นหลุมดำได้จะมีรัศมีชวาสชิลด์เพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้นและวัตถุขนาดโลกหากสามารถยุบตัวเป็นหลุมดำได้จะมีขนาดเพียง ลูกหินเท่านั้น
ตามทฤษฏีการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ หลุมดำเกิดจากการยุบตัวของดาวที่มีมวลมาก เนื่องจากผลของแรงโน้มถ่วง เมื่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงบริเวณใจกลางของดาวฤกษ์ ยุติลงในขั้นตอนสุดท้ายของการวิวัฒนาการ ที่จริงแล้วดาวฤกษ์ทุกดวงสามารถยุบตัวเป็นวัตถุที่มีความหนาแน่นสูงมาก (Dense Compact Objects) แต่ดาวที่มีมวลมากที่สุดจะยุบตัวได้อย่างต่อเนื่องจนสสารถูกอัดแน่นกลายเป็น จุดที่มีค่าความหนาแน่นเป็น “อนันต์” เรียกว่า “จุดชิงกูลาริตี (Singularity)” ซึ่งก่อนที่จะยุบตัวจนกลายเป็นจุด การยุบตัวของดาวจะผ่าน “ขอบฟ้าเหตุการณ์”ซึ่งเมื่อผ่านขอบเขตดังกล่าวนี้แสงจะไม่สามารถหลุดลอดออก มาได้อีกต่อไป วัตถุดังกล่าวจึงกลายเป็นหลุมดำ
หลุมดำเป็นแหล่งพลังงานมหาศาล ขณะที่สสารตกลงสู่หลุมดำผ่านขอบฟ้าเหตุการณ์ สสารจะปล่อยพลังงานศักย์เนื่องจากความโน้มถ่วงจำนวนมากออกมาโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งถ้าหลุมดำมีการหมุน จะปล่อยพลังงานมากกว่ากรณีหลุมดำที่หยุดนิ่ง ดังนั้นการสังเกตหลุมดำทำได้โดยการสังเกตพลังงานที่แผ่ออกมาจากสสารในขณะที่ ตกลงสู่หลุมดำนั่นเอง ตัวอย่างเช่นในระบบดาวคู่ ที่มีสมาชิกดวงหนึ่งเป็นหลุมดำ ดาวสมาชิกอีกดวงหนึ่งที่มองเห็นจะโคจรรอบหลุมดำที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้
อย่างไรก็ตามถ้าสสารจากสมาชิกดวงที่มองเห็นถูกดูดให้ตกลงไปในหลุมดำ จะปล่อยพลังจำนวนมหาศาลออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โฟตอนพลังงานสูง เช่นรังสีเอกซ์ เป็นต้นนักดาราศาสตร์สามารถระบุหลายบริเวณบนท้องฟ้าที่น่าจะมีหลุมดำอยู่ บริเวณที่ระบุได้ว่ามีหลุมดำ บริเวณแรกได้แก่ “ซิกนัส เอกซ์-1 (Cygnus X-1)” ในกลุ่มดาวหงส์ และอีกบริเวณหนึ่งในกลุ่มดาวหงส์ ได้แก่ “ วี 404 ซิกนี ( V404 Cygni ) ” เป็นบริเวณที่แผ่รังสีเอกซ์เข้มข้นมาก และนักดาราศาสตร์ค่อนข้างแน่ใจว่ามีหลุมดำอยู่บริเวณดังกล่าวนี้ นอกจากนี้ยังมีระบบดาวคู่รังสีเอกซ์ (X Binary System) ที่สำคัญ ๆ อีกเช่น LMC X-3 และ A0620-00 เป็นต้น

หลุมดำบางชนิดไม่ได้เกิดจากซากของดาวฤกษ์ในขั้นตอนสุดท้ายของการวิวัฒนาการ แต่เป็นวัตถุที่มีมวลมากบริเวณใจกลางของควาซาร์ และกาแล็กซีที่มีชื่อเรียกว่า“หลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive Black Holes)” ที่สามารถดึงดูดสารระหว่างดาวจำนวนมหาศาล หรือดาวเป็นจำนวนมากให้ตกลงสู่วัตถุดังกล่าวนี้ได้ และปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาลออกมา

ปี ค.ศ. 1994 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล พบหลักฐานว่ามีหลุมดำมวลยิ่งยวด อยู่บริเวณใจกลางของกาแล็กซี M87 และคำนวณมวลของหลุมดำได้ประมาณ 2-3 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์และมีขนาดเพียงไม่เกินขนาดของระบบสุริยะเท่า นั้น ปี ค.ศ. 1999 ดาวเทียมรังสีเอกซ์ของญี่ปุ่น ชื่อ อาสกา ( Asca ) พบผลเชิงสัมพัทธภาพบริเวณหลุมดำ MCG-6-30-15 กล่าวคือ พบมวลสารกำลังถูกดูดเข้าสู่หลุมดำด้วยความเร็วสูงถึง 1 ใน 3 ของความเร็วแสง ณ ระยะประมาณ 6 เท่าของรัศมีชวาซชิลต์ จากใจกลางของหลุมดำ
สตีเฟน ฮอร์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวอังกฤษยังเสนอหลุมดำที่ไม่ใช่ซากของดาวฤกษ์อีกชนิด หนึ่งคือ “หลุมดำแรกเริ่ม (Primordial Black Holes)” หลุมดำดังกล่าวนี้อาจมีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์น้อย ซึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงเวลาเริ่มเกิดการระเบิดใหญ่ (Big Bang) ของเอกภพและมีขนาดเล็กมาก

ยานอวกาศ Pioneer Venus พบลมหมุนที่ขั้วเหนือของดาวศุกร์เมื่อ 25 ปีก่อน ครั้งนั้นพายุลูกนี้จัดเป็นปริศนาอย่างหนึ่งในระบบสุริยะ เนื่องจากมันมี “ตาพายุ” สองจุด แต่เมื่อ Venus Express เดินทางถึงดาวศุกร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และพบว่าที่ขั้วใต้ของดาวศุกร์ก็มีพายุหมุนที่มี “ตาพายุ” สองจุดเช่นกัน

พายุหมุนที่ขั้วดาวถือเป็นกุญแจสำคัญในการศึกษาพลศาสตร์ของชั้นบรรยากาศดาว เคราะห์แต่พวกมันไม่ใช่พายุเฮอริเคนเพราะพายุเฮอริเคนเกิดจากอากาศชื้นลอย ตัวสูงขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ แต่ดาวศุกร์ไม่มีความชื้น นอกจากนี้พายุเฮอริเคนจำเป็นต้องใช้แรงโคริโอริส(Coriolis) อันเป็นแรงที่เกิดจากการหมุนของอากาศและการหมุนของดาวเคราะห์เพื่อเพิ่มความ เร็ว แต่ทว่าแรงโคริโอริสกลับมีผลน้อยมากบริเวณขั้วดาวนอกจากนี้กว่าดาวศุกร์จะ หมุนรอบตัวเองครบรอบยังต้องใช้เวลาถึง 243 วันของโลก นั่นหมายความว่าแรงโคริโอริสบนดาวศุกร์ยิ่งน้อยมากๆ

ในที่นี้ลมหมุนบริเวณขั้วดาวเกิดจาก อาณาเขตที่มีความกดอากาศต่ำซึ่งอยู่ที่ขั้วของดาวเคราะห์ทำให้ก๊าซใน บรรยากาศชั้นสูงหมุนควงลงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่า ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดได้บนดาวเคราะห์ทุกดวงแม้กระทั่งโลก

แต่ปัญหาก็คือดาวศุกร์มี “ตาพายุ” สองจุด เพื่อทำความเข้าใจลมหมุนประหลาดดังกล่าว ทุกครั้งที่ยาน Venus Express เข้าใกล้ขั้วดาว อุปกรณ์บนยานจะต้องเก็บเกี่ยวข้อมูลให้มากเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อติดตามการแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วของพายุให้ได้ละเอียดที่สุด เพื่อที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาพฤติกรรมและค้นหาปัจจัยเบื้องหลังปราก ฎการณ์นี้

เดือนนี้ยานอวกาศ Cassini พบพายุหมุนบนขั้วดาวเสาร์ แต่เมื่อราว 25 ปีก่อนนักดาราศาสตร์พบพายุหมุนบนขั้วดาวศุกร์เช่นกัน แต่ครั้งนี้นักดาราศาสตร์เชื่อว่านี่จะช่วยถมช่องว่างแห่งความไม่เข้าใจ เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ได้

ในเวลาเดียวกันยาน Cassini กำลังเก็บเกี่ยวข้อมูลพายุหมุนที่ขั้วดาวเสาร์ต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ Visual Infrared Mapping Spectrometer เพื่อศึกษาใจกลางของพายุลูกดังกล่าว

ภาพในย่านรังสีอินฟราเรดช่วยให้นักดาราศาสตร์มองทะลุชั้นเมฆที่บดบังแสงตา มนุษย์มองเห็นลงไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตร จากเมฆชั้นสูงสุดที่ตามนุษย์ไม่อาจมองลึกลงไปได้อีก ภาพที่ได้จะถูกนำไปศึกษาโครงสร้างสามมิติของพายุหมุนที่ขั้ว ซึ่งจะช่วยเปรียบเทียบโครงสร้างพายุหมุนระหว่างพายุบนดาวศุกร์กับดาวเสาร์ หรือแม้แต่บนดาวเคราะห์อื่นๆ ความคล้ายและความต่างของพายุชนิดนี้ บนดาวเคราะห์แต่ละดวงจะช่วยให้นักดาวเคราะห์วิทยาทำความเข้าใจความแตกต่าง ของชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ เหนือสิ่งอื่นใดคือการ “เข้าใจ” โลกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
สงสัยเรื่องขนาดของหลุมดำในบทความเรื่อง “วันของหลุมดำบนโลก” ที่ระบุว่า หลุมดำจากเครื่อง LHC ถ้าเกิดขึ้นจริง จะมีขนาดเล็กจิ๋วเพียงระดับเป็น 10 เมตร มีอายุสั้นมากเพียงระดับ 10 วินาทีเท่านั้น แล้วหลุมดำจิ๋วก็จะสลายตัวไป คุณคณินสงสัยว่า ขนาดของหลุมดำจิ๋วดังกล่าวนั้น ไม่ใหญ่เกินไปหรือ เพราะขนาดระดับ 10 เมตร ก็น่าจะดูดเครื่องมือหรืออุปกรณ์เข้าไปได้ คุณคณินคิดว่า หลุมดำจิ๋วจากเครื่อง LHC น่าจะเล็กกว่าระดับเป็นเมตรเสียอีก

ผมได้รับอีเมลจากคุณคณินมาหลายวันแล้ว และก็ตั้งใจจะตอบให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย เพราะมีคำถามถึงผมมากทีเดียวเกี่ยวกับขนาดของหลุมดำ แต่พอดีมีเรื่องอื่นๆ ที่เร่งด่วนให้ผมต้องเขียน ลงให้อ่านกันในคอลัมน์ “มิติคู่ขนาน” จนกระทั่งถึงวันนี้ ก็ขออภัยคุณคณินในความล่าช้าด้วย ส่วนข้อสังเกตของคุณคณิน คำตอบจะอยู่ในเรื่อง “ขนาดของหลุมดำ” ครับ

หลุมดำมีขนาดเท่าไร?
หลุมดำ หรือ Black Hole สิ่งมหัศจรรย์ชวนพิศวงแห่งจักรวาล ซึ่งนักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่ามีอยู่จริง แต่ไม่สามารถจะมองเห็นได้ เพราะแสงเมื่อเข้าใกล้หลุมดำถึงระดับหนึ่ง ก็จะไม่สามารถออกมาจากหลุมดำได้เลย และจึงทำให้หลุมดำมีสภาพเป็น “ดาวล่องหน”





บันทึกการเข้า


I'M SORRY
Sir-Drag-A-Lot
สมเจตน์ การช่าง
หจก. พูนทอง เซอร์วิส PTS

Aoffii@ImSry
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,020


สิบคนในวงเหล้า คงไม่อบอุ่นเท่าหนึ่งคนในวงแขน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #73 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:50:58 »

เรื่องขนาดของหลุมดำ โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ความหมาย คือ (1) ขนาดของหลุมดำตามกระบวนการเกิด เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า “ซิงกูลาริตี” (Singularity) และ (2) ขนาดของหลุมดำที่สังเกตได้ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า “Schwarzschild Radius” (รัศมีซวาร์ซชิลด์) หรือ “Event Horizon” (ขอบฟ้าเหตุการณ์)

ตามกระบวนการเกิดหลุมดำ โดยทั่วไปดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 2 เท่าครึ่งขึ้นไป บั้นปลายชีวิต ถ้าไม่เปลี่ยนไปเป็นซูเปอร์โนวาชนิดระเบิดหมดทั้งดวง ก็จะเปลี่ยนไปเป็นดาวนิวตรอน และในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็นหลุมดำ โดยที่มวลทั้งหมดของดวงดาวจะยุบถล่มตนเอง ไปรวมกันที่ตำแหน่งใจกลางของดวงดาว เรียกว่า ซิงกูลาริตี ซึ่งมีสภาพเป็นเสมือนกับจุด กล่าวคือ ไม่มีขนาด ไม่มีปริมาตร โดยที่ซิงกูลาริตีอาจมีสภาพเป็น “สภาวะ” ของ Space-Time หรือ อวกาศ-เวลา ที่มีความหนาแน่นเป็นอนันต์ หรือ Infinite แต่มีขนาดเป็นศูนย์

แนวคิดเรื่องซิงกูลาริตีของหลุมดำ มักใช้กันโดยทั่วไปกับหลุมดำทั้งที่เคยเป็น ดาวฤกษ์ มาก่อน และที่เกิดจากการรวมตัวของมวลสารมากมาย อยู่ที่ตำแหน่งใจกลางของกาแลกซีส่วนใหญ่ (รวมทั้งกาแลกซีทางช้างเผือก) มีมวลมากกว่ามวลดวงอาทิตย์ของเราเป็นล้าน หรือพันล้านเท่า

ซิงกูลาริตี ของหลุมดำที่เป็นดาวฤกษ์มาก่อน หรือที่กำลังเป็นหลุมดำยักษ์อยู่ที่ใจกลางกาแลกซี ส่วนใหญ่เป็นซิงกูลาริตีที่มีเสถียรภาพ ตราบเท่าหลุมดำยังมีชีวิตอยู่ คือยังไม่สลาย แต่สำหรับหลุมดำจิ๋ว ที่เรียกว่า Mini Black Hole หรือ Micro Black Hole ที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพของจักรวาลหลังการเกิดบิกแบง แล้วก็มีหลุมดำจิ๋วเกิดขึ้น โดยที่หลุมดำจิ๋วเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นก็จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เกือบจะในทันทีที่เกิดขึ้น ซิงกูลาริตีของหลุมดำจิ๋วก็จะเกิดขึ้น แล้วก็สลายตัวไปเกือบจะในทันทีกับหลุมดำจิ๋ว

หลุมดำจิ๋วนี้เอง ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการชนกันของโปรตอน ในเครื่องเร่งอนุภาค LHC ที่เซิร์น ขณะที่โปรตอน 2 กลุ่ม กำลังวิ่งสวนทางกันอยู่ในอุโมงค์ของเครื่อง LHC มีเส้นรอบวงยาว 27 กิโลเมตร ด้วยความเร็วประมาณ 99.999 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วแสง จึงมีพลังงานสูงใกล้เคียงกับสภาพของจักรวาลหลังการเกิดบิกแบงใหม่ๆ และเป็นที่คาดในวงการวิทยาศาสตร์ว่า จะเกิดหลุมดำจิ๋วขึ้นมา

       หลุมดำจิ๋วที่เกิดในเครื่อง LHC อาจมีขนาดในระดับเพียง 10-19 (สิบยกกำลังลบสิบเก้า) เมตร และมีอายุสั้นมากเพียงระดับ 10-26 (สิบยกกำลังลบยี่สิบหก) วินาทีเท่านั้น จึงเสมือนหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นก็สลายตัวในทันที ก่อนการกะพริบตาของคนเราเพียงหนึ่งครั้งเสียอีก (หมายเหตุ : คุณคณิน จึงเข้าใจถูกแล้วครับ ในบทความเรื่อง “วันของหลุมดำบนโลก” ตีพิมพ์ตกปริมาณตัวเลขสำคัญ คือ ตัวเลขยกกำลังสิบเก้า และยกกำลังลบยี่สิบหก ) ตัวเลข 10-19 เมตร กับ 10-26 วินาทีนี้ ก็เป็นเพียงตัวเลขที่แสดงถึงระดับขนาดและช่วงเวลาที่น้อยมากจริงๆ ในบางรายงานเกี่ยวกับหลุมดำจิ๋วที่เซิร์น ก็มีการยกตัวเลขยกกำลังเป็นลบที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นขนาดและช่วงเวลาที่สั้นมากๆ

สำหรับขนาดของหลุมดำที่สังเกตได้ คือ “รัศมีชวาร์ซชิลด์” หรือ “ขอบฟ้าเหตุการณ์” เป็นคุณสมบัติของหลุมดำที่เป็นรูปธรรม มีความหมายถึงตำแหน่งในอวกาศจากใจกลางหลุมดำ ซึ่งสำหรับหลุมดำแบบธรรมดาที่สุด หรืออาศัยการคำนวณอย่างธรรมดาที่สุดของหลุมดำไม่มีประจุไฟฟ้าและไม่หมุนรอบ ตัวเอง ก็จะมีลักษณะเป็นผิวทรงกลม โดยมีรัศมีขึ้นอยู่กับมวลของหลุมดำ เช่น...

หลุมดำมีมวลประมาณ 10 เท่าของดวงอาทิตย์ มีรัศมีชวาร์ซชิลด์ ประมาณ 30 กิโลเมตร

หลุมดำมีมวลประมาณ 1,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ มีรัศมีชวาร์ซชิลด์ ประมาณ 1,000 กิโลเมตร

หลุมดำยักษ์มีมวลประมาณ 1 แสน ถึง 1,000 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ มีรัศมีชวาร์ซชิลด์ ประมาณ 0.001-10 เอยู (1 เอยู คือ หน่วยดาราศาสตร์ หมายถึง ระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก โดยเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 149, 597, 870 กิโลเมตร)

ดวงอาทิตย์ของเรา ถ้าเปลี่ยนไปเป็นหลุมดำ (ซึ่งไม่เกิดขึ้นจริง เพราะดวงอาทิตย์มีมวลน้อยเกินกว่าจะเปลี่ยนไปเป็นหลุมดำ) ก็จะมีรัศมีชวาร์ซซิลด์เพียงประมาณ 3 กิโลเมตร

ทำไมรัศมีชวาร์ซชิลด์ จึงถูกเรียกเป็น “ขอบฟ้าเหตุการณ์” ด้วย?
ขอบฟ้าเหตุการณ์ หรือ Event Horizon โดยทั่วไปหมายถึงตำแหน่งไกลสุด ที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าไกลกว่าตำแหน่งนั้นออกไป ตาเปล่ามนุษย์ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ จึงถูกนำไปเปรียบเทียบเรียกขนาดของหลุมดำอย่างเป็นรูปธรรม ว่า สามารถมอง หรือสังเกตเห็นสภาพโดยรอบหลุมดำได้ถึงระยะห่างจากใจกลางหลุมดำเพียงรัศมี ชวาร์ซชิลด์เท่านั้น

ในทางปฏิบัติ นักวิทยาศาสตร์สามารถจะ “หา” หรือ “วัด” รัศมีชวาร์ซชิลด์ได้ โดยการศึกษาสภาพรอบหลุมดำ ที่สามารถส่องกล้องโทรทรรศน์ เห็นอนุภาคดังเช่น แก๊สร้อนวิ่งวนเข้าหาหลุมดำ จนกระทั่งหายเข้าไปในบริเวณโดยรอบหลุมดำ และตำแหน่งบริเวณโดยรอบหลุมดำนั้นเอง คือ ขนาดอย่างเป็นรูปธรรมของหลุมดำ...

แล้วจากขนาดของหลุมดำนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถคำนวณหามวลของหลุมดำได้

สำหรับความเคลื่อนไหวของเครื่องเร่งอนุภาค LHC หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2551 แล้ว ก็ต้องปิดเครื่องเพื่อซ่อมเหตุขัดข้องจากวงจรไฟฟ้า ทำให้เกิดการรั่วไหลของฮีเลียมเหลว มีรายงานล่าสุด (วันที่ 30 พ.ย. 2551) จากเซิร์น ว่า เครื่อง LHC จะเริ่มต้นสตาร์ตเครื่องทำงานใหม่ปลายฤดูร้อนปี 2552

ฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ (เช่นที่เซิร์น) เริ่มต้น 21 มิ.ย. ถึง 23 ก.ย. ของทุกปี
นักดาราศาสตร์พบระบบดาวชนิดใหม่ เป็นซากดาวที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่น เป็นหลักฐานบ่งชี้ "หลุมดำ" หลุดออกจากกาแลกซีแรงแค่ไหน ตามมาด้วยการรวมตัวกับหลุมดำของอีกกาแลกซีหนึ่ง เปรียบเปรยเป็นเหมือน "ดีเอ็นเอ" ของซากสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เชื่อภาพของระบบดาวลักษณะนี้เคยผ่านตานักดาราศาสตร์มาบ้าง                "ระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวด" (hypercompact stellar systems) เป็นวัตถุอวกาศชนิดใหม่ ที่กลุ่มนักดาราศาสตร์จากหลายสถาบันได้แก่ เดวิด เมอร์ริตต์ (David Merritt) สถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ (Rochester Institute of Technology) เจอเรมี ชนิตแมน (Jeremy Schnittman) มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) สหรัฐอเมริกา และสเตฟานี โคมอสซา (Stefanie Komossa) จากสถาบันมักซ์พลังก์ด้านฟิสิกส์ระหว่างดวงดาว (Max-Planck-Institut for Extraterrestrial Physics) ในเยอรมนี ได้ร่วมกันจำแนกออกมา                ไซน์เดลีรายงานคำชี้แจงของทีมวิจัยที่กล่าวว่า ซากกระจุกดาวเหล่านี้อาจตรวจพบได้ในย่านความยาวคลื่นแสงที่มองเห็นได้ และวัตถุอวกาศชนิดใหม่ อาจเคยตรวจพบมาบ้างแล้ว จากการบันทึกภาพสำรวจอวกาศ ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงวารสารแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัล (Astrophysical Journal) เพื่ออธิบายคุณสมบัติเชิงทฤษฎีของวัตถุอวกาศดังกล่าวนี้                ระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวดหรือระบบไฮเปอร์คอมแพคสเตลลานี้ เป็นผลจากการที่หลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole) ถูกขับออกจากกาแลกซี หลักจากมีการรวมตัวกันของหลุมดำในกาแลกซีอื่น ซึ่งหลุมดำที่หลุดออกมาจากกาแลกซี ราวกับถูกเตะทิ้งออกมานั้น ได้ดึงดวงดาวของกาแลกซีออกมาด้วย โดยดวงดาวที่อยู่ใกล้หลุมดำขนาดใหญ่นั้น จะเคลื่อนที่ตามออกมา และกลายเป็นเครื่องบันทึกความเร็ว เมื่อหลุมดำถูกดึงออกมาอย่างถาวร                การที่หลุมดำหลุดออกมา หลังจากรวมตัวกันระหว่าง 2 หลุมดำในใจกลางกาแลกซีนั้น ทางเนชันนัลจีโอกราฟิกอธิบายว่า เป็นที่ยอมรับว่า ใจกลางกาแลกซีนั้นมีหลุมดำขนาดใหญ่ ซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราเป็นพันล้านเท่า และตามแบบจำลองที่มีออกมาเมื่อ 2-3 ปีก่อน ชี้ให้ว่าเมื่อหลุมดำขนาดใหญ่เริ่มรวมตัวกัน จะเกิดคลื่นความโน้มถ่วงที่พุ่งออกมา หากคลื่นดังกล่าวรุนแรงพอก็จะขับให้หลุมดำที่รวมตัวกันนั้น กระเด็นออกมานอกกาแลกซี                ศ.เมอร์ริตต์ นักฟิสิกส์จากโรเชสเตอร์ อธิบายว่า เราสามารถวัดความเร็วที่หลุมดำถูกเตะออกมาจากกาแลกซีได้ จากการวัดความเร็วของดวงดาวที่เคลื่อนที่รอบๆ หลุมดำ ซึ่งมีเพียงดาวที่โคจรเร็วกว่าความเร็วที่หลุมดำถูกเตะออกมาเท่านั้นที่ยัง คงอยู่                อีกทั้งซากดาวเหล่านี้ ยังคงบันทึกข้อมูลของการเตะดังกล่าวไว้ แม้ว่าหลุมดำที่ถูกเตะออกมานั้น จะลดความเร็วลงแล้วก็ตาม ซึ่งวัตถุอวกาศนี้จะเป็นวิธีดีที่สุดในการย้อนเหตุการณ์ที่หลุมดำถูกเตะออก มา เนื่องจากไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ และแม้ว่าหลุมดำจะถูกเตะออก แต่ยังคงมีแรงโน้มถ่วง ซึ่งบ่งชี้ว่าภายในกลุ่มดาวที่ถูกดึงออกมาด้วยนั้นมีหลุมดำอยู่                "การค้นพบวัตถุอวกาศใหม่นี้ เป็นเหมือนการค้นพบดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว" โคมอสซาเสริมความเห็น                ทั้งนี้บริเวณที่ดีที่สุดในการหาระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวดนี้ คือในกระจุกกาแลกซีที่อยู่ใกล้ๆ กับเราอย่าง กระจุกกาแลกซีโคมา (Coma clusters) และกระจุกกาแลกซีเวอร์โก (Virgo clusters) แต่ทีมวิจัยยังคงถกเถียงในเรื่องนี้กันอยู่ ซึ่งบริเวณที่กล่าวมานั้น เต็มไปด้วยกาแลกซีนับพัน และมีการรวมกันของกาแลกซีมายาวนานแล้ว อันเป็นผลให้มีการรวมกันของหลุมดำด้วย                เมอร์ริทต์และทีมเชื่อว่า นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้เห็นระบบดาวนี้มาบ้างแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าคืออะไร และวัตถุที่ได้รับการจำแนกใหม่นี้ ง่ายที่จะถูกเข้าผิดว่าเป็นระบบดาวทั่วๆ ไป ที่เป็นกระจุกดาวทรงกลม                อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวดนี้มีลักษณะเฉพาะตัว คือความเร็วภายในระบบที่สูงมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรวจวัดได้เฉพาะในระบบดาวที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงรอบๆ หลุมดำเท่านั้น และต้องอาศัยการเปิดหน้ากล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เป็นเวลานานเพื่อบันทึก ลักษณะดังกล่าว
การที่หลุมดำสามารถดูดสสารจากดาวฤกษ์ข้างเคียงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทาง แม่เหล็กด้วย ไม่ใช่แค่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว นี่เป็นข้อสรุปที่ได้จากการวัดรังสี X ครั้งใหม่ โดยรังสีในช่วงพลังงานสูงนี้ถูกปลดปล่อยออกมาโดยก๊าซที่อยู่รอบ ๆ หลุมดำอันหนึ่งในกาแลกซี่ทางช้างเผือกของเรา. นักวิจัยประสบความสำเร็จอย่างน่ามหัศจรรย์ พวกเขาพบว่าผลการวัดสเปกตรัมรังสี X จากหลุมดำโดยดาวเทียมสำรวจอวกาศ Chandra X-ray Observatory หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “จันทรา” สอดคล้องกันกับการคำนวณจากแบบจำลองทางทฤษฎีราวกับเป็นการเทียบลายนิ้วมือเลย ทีเดียว. แบบจำลองที่ใช้ได้ดีนี้บ่งบอกโดยทางอ้อมว่า สนามแม่เหล็กที่ทรงพลังในก๊าซรอบ ๆ หลุมดำ คือกุญแจสำคัญในกระบวนการปลดปล่อยรังสี X รอบหลุมดำ เฉิดฉายประกายเอกภพ ประมาณการกันว่ากว่าหนึ่งในสี่ของรังสีทั้งหมดในเอกภพที่ปลดปล่อยมานับ ตั้งแต่บิ๊กแบง มาจากปรากฏการณ์ที่สสารไหลลงสู่ supermassive blackhole (หลุมดำประเภทที่มีมวลมากมหาศาล) ซึ่งรวมไปถึง ควอซาร์ (quasar) อันเป็นเทหวัตถุที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาในระดับเทียบเท่ากับพลังงานที่ออกมา จากหลายร้อยกาแลกซี่รวมกัน เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ความบากบั่นในการทำความเข้า ใจในเรื่องที่ว่า หลุมดำ ซึ่งตามทฤษฎีน่าจะเป็นวัตถุที่มืดที่สุดในเอกภพอันเนื่องมาจากการที่ไม่มี สิ่งใดแม้แต่อนุภาคแสงหลุดรอดออกมาได้ กลับมีรังสีออกมามากมายอย่างนั้นได้อย่างไร ด้วยแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของหลุมดำ มันจะดึงดูดก๊าซและฝุ่นโดยรอบเข้ามาหาตัว. ก่อนที่สสารเหล่านี้จะไหลเข้าไปใกล้หลุมดำมากเสียจนถึงในเขตแดนที่ไม่มีสิ่ง ใดได้กลับออกมาอีก ซึ่งเรียกกันว่า “event horizon” พวกมันจะสะสมตัวกันขณะวิ่งไหลวนอยู่รอบๆ หลุมดำในรูปของแผ่นจานที่เรียกว่า “accretion disk” (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า “แผ่นจานสะสมมวล”) คล้ายกับการที่มีสสารสะสมกันเป็นวงแหวนรอบดาวเสาร์ ด้วยกลไกอะไรบางอย่างในแผ่นจานนี้ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด สสารที่เป็นก๊าซร้อนจัดก็ปลดปล่อยรังสี X ออกมา และเมื่อถูกตรวจวัดได้โดยนักดาราศาสตร์ มันจึงเป็นหลักฐานว่ามีหลุมดำอยู่ในตำแหน่งนั้น. นั่นหมายความว่าเราไม่ได้เห็นตัวหลุมดำ แต่รู้ตำแหน่งของมันจาก “เสื้อคลุม” เรืองแสงรังสี X ข้อมูลรังสี X จากจันทราได้ให้การอธิบายที่ชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า ตัวการขับเคลื่อนให้เกิดกลไกดังกล่าวก็คือ สนามแม่เหล็ก กล้องโทรทรรศน์สำรวจอวกาศจันทราติดตามวัดระบบหลุมดำแห่งหนึ่งในกาแลกซี่ของ เรา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ GRO J1655-40 (เรียกสั้น ๆ ว่า J1655) ในระบบหลุมดำแห่งนั้นซึ่งประกอบด้วยหนึ่งหลุมดำกับหนึ่งดาวฤกษ์ หลุมดำกำลังดูดสสารจากดาวที่อยู่เคียงคู่ เข้าไปสู่จานสะสม. หลุมดำ ในแง่ของวัตถุทางดาราศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามขนาดของมัน คือ stellar blackhole [มีมวลประมาณ 5-100 เท่าของดวงอาทิตย์], mid-mass blackhole [มีมวลประมาณ 500-1000 เท่าของดวงอาทิตย์] และ supermassive blackhole [มีมวลในระดับของล้านดวงอาทิตย์]. สำหรับหลุมดำในระบบ J1655 เป็นประเภท stellar blackhole “J1655 ถือว่าเป็นหลุมดำที่อยู่ใกล้กับโลกเราแห่งหนึ่ง. ถึงแม้หลุมดำจะมีขนาดแตกต่างกันไป พวกเราสามารถใช้ J1655 เป็นตัวแบบในการเข้าใจวิวัฒนาการของหลุมดำทุก ๆ แห่งได้ ซึ่งรวมถึงควอซาร์ด้วย” กล่าวโดย จอน เอ็ม มิลเลอร์ (Jon M. Miller) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา. สนามแม่เหล็กมีบทบาทสำคัญ ลำพังแรงโน้มถ่วงจากหลุมดำเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ก๊าซใน “accretion disk” รอบ ๆ หลุมดำสูญเสียพลังงานและตกลงสู่หลุมดำในอัตราเร็วที่นักดาราศาสตร์ตรวจวัด ได้. ก๊าซจะต้องสูญเสียโมเมนตัมเชิงมุมในการหมุนโคจรรอบหลุมดำบางส่วนไป ไม่ว่าด้วยแรงเสียดทานใน accretion disk หรือด้วยกระแสของก๊าซที่พุ่งออกจากหลุมดำซึ่งเรียกว่า “wind” ก่อนที่ก๊าซจะหมุนวนลงสู่หลุมดำ. ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ สสารก็จะยังคงหมุนอยู่ในวงโคจรรอบ ๆ หลุมดำเป็นเวลานานมาก. นักวิทยาศาสตร์บางท่านเสนอความคิดว่าความแปรปรวนทางแม่เหล็กที่เรียกว่า magnetic turbulence สามารถทำให้มีความเสียดทานใน accretion disk ได้ และเป็นตัวการทำให้เกิดกระแส “wind” ออกมาได้. และทั้งสองอย่างนี้มีผลให้โมเมนตัมเชิงมุมลดลง ทำให้ก๊าซตกลงไปในหลุมดำได้เร็วขึ้น. โดยใช้จันทรา ดร. มิลเลอร์และทีมงานของเขาได้ให้หลักฐานที่สำคัญยิ่งในเรื่องบทบาทของสนามแม่ เหล็กในกระบวนการสะสมมวลของหลุมดำ. สเปกตรัมรังสี X ซึ่งบ่งบอกความเข้มของรังสีที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ในช่วงรังสี X แสดงให้เห็นว่าความเร็วและความหนาแน่นของ “wind” จากแผ่นจานสะสมของ J1655 สอดคล้องกับการทำนายด้วยการจำลองทางคอมพิวเตอร์. การจำลองนี้ใช้ทฤษฎีที่ “wind” เกิดขึ้นด้วยกระบวนการที่สนามแม่เหล็กมีบทบาทสำคัญ. ผลการเทียบสเปกตรัมที่ได้จาการสังเกตกับการทำนายนี้ ได้ปัดความเป็นได้ของทฤษฎีอื่นๆ บางทฤษฎีที่เป็นคู่แข่งสำคัญไปด้วย.

“ในปี ค.ศ. 1973 นักทฤษฎีเริ่มได้แนวคิดว่าสนามแม่เหล็กอาจจะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดรังสี โดยก๊าซที่กำลังไหลสู่หลุมดำได้” กล่าวโดย ผู้ร่วมงานคนสำคัญของมิลเลอร์ นามว่า จอห์น เรมอน (John Raymond) แห่ง the Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics ในเมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซส “ตอนนี้ซึ่งเป็นเวลากว่า 30 ปีให้หลัง ในที่สุดเราอาจมีหลักฐานที่พอจะทำให้เชื่อได้แล้ว”

การเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับการสะสมสสารของหลุมดำช่วยทำให้นักดารา ศาสตร์เข้าใจคุณสมบัติอื่น ๆ ของหลุมดำด้วย อันรวมไปถึงประเด็นที่ว่า หลุมดำเติบโตขึ้นอย่างไร.

“หมอต้องการเข้าใจสาเหตุของโรค ไม่ใช่รู้แค่อาการป่วย ฉันใดก็ฉันนั้น นักดาราศาสตร์พยายามเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราเห็นใน เอกภพ” กล่าวโดย ผู้ร่วมงานวิจัย แดนนี่ สตีจ (Danny Steeghs) ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกับเรมอน. “เมื่อเข้าใจว่ากลไกอะไรทำให้สสารปลดปล่อยพลังงานออกมา ก่อนที่มันจะเข้าสู่หลุมดำ เราก็ได้เรียนรู้ด้วยว่าสสารตกลงสู่เทหวัตถุอื่น ๆ ที่สำคัญอย่างไร”

นอกจากใน accretion disk รอบ ๆ หลุมดำแล้ว ปรากฏการณ์ของสนามแม่เหล็กดังกล่าวอาจจะมีบทบาทสำคัญใน accretion disk ที่เกิดขึ้นรอบวัตถุทางดาราศาสตร์อื่น ๆ ด้วย อาทิ ดาวฤกษ์อายุน้อยขนาดพอ ๆ กับ ดวงอาทิตย์ (บริเวณที่มีการสะสมฝุ่นก๊าซโดยรอบจะมีการก่อตัวของดาวเคราะห์) และวัตถุซึ่งมีหนาแน่นสูงอย่างดาวนิวตรอน

อย่างไรก็ตาม มิลเลอร์ ซึ่งถือเป็นผู้นำในทีมวิจัย ชี้ว่า ถึงแม้หลักฐานที่ได้ค่อนข้างหนักแน่น แต่มันเป็นการยืนยันทฤษฎีโดยทางอ้อม เรายังต้องการการสังเกตที่มากขึ้นและละเอียดยิ่งขึ้นด้วย “จันทราทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ยังไม่แจ่มชัดนัก ภารกิจในอนาคตอย่าง Constellation-X จะมีความสำคัญมากในการเปิดเผยกระบวนการของการที่สสารตกลงสู่หลุมดำ ด้วยรายละเอียดที่มากยิ่งขึ้น ”


บันทึกการเข้า


I'M SORRY
Sir-Drag-A-Lot
สมเจตน์ การช่าง
หจก. พูนทอง เซอร์วิส PTS

landslots รัก ในหลวง
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,048


- ก็ได้แค่นั้นแหละ -


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #74 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:51:55 »


ยิ้มแย้ม

ร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัดหากเราหน้าบึ้งจะต้องใช้กล้ามเนื้อประมาณ 400 มัด ในขณะที่การยิ้มใช้กล้ามเนื้อ 15 มัด เท่านั้น และพลังงานที่ใช้ก็น้อยกว่าการขมวดคิ้ว 1 ครั้งเสียอีกเชื่อกันว่าการขมวดคิ้ว 200,000 ครั้ง ทำให้เกิดรอย กา 1 รอย









นังจักรทำไป 300,000 ครั้งครับ
บันทึกการเข้า

กลับมาแล้ว

Jigging man
[/center]
landslots รัก ในหลวง
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,048


- ก็ได้แค่นั้นแหละ -


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #75 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:54:25 »

ออฟก๊าบ เยอะหยั่งงี้ขอเป็นลิ้งค์ดีกว่าก๊าบ..

อ่านแล้วปวดตาก๊าบบบ   
บันทึกการเข้า

กลับมาแล้ว

Jigging man
[/center]
RINSA
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #76 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 08:54:53 »

เบลอ ๆ เลยอ่ะ  

กินข้าวก่อนเดี๋ยวมาอ่านต่อ

ความรู้ทั้งน้าน 
บันทึกการเข้า
landslots รัก ในหลวง
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,048


- ก็ได้แค่นั้นแหละ -


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #77 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 09:08:29 »

ของน้าตั๊ม จบแระ

ต่อของอีออฟ ดีกว่า
บันทึกการเข้า

กลับมาแล้ว

Jigging man
[/center]
Aoffii@ImSry
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,020


สิบคนในวงเหล้า คงไม่อบอุ่นเท่าหนึ่งคนในวงแขน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #78 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 09:13:20 »

ใครอ่านของออฟจบ

มีรางวัล เอาแอ้ไปเลี้ยงที่บ้านได้ไม่จำกัดวัน
บันทึกการเข้า


I'M SORRY
Sir-Drag-A-Lot
สมเจตน์ การช่าง
หจก. พูนทอง เซอร์วิส PTS

wolfboy
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,140


จงใฝ่ฝัน แต่ อย่าเพ้อฝัน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #79 เมื่อ: 22 ตุลาคม 2552 11:14:18 »

ออฟ อ่านของตัวเองจบมั่งไหมเนี่ย?
บันทึกการเข้า

สาวไทย สวย ไม่แพ้ชาติใดในโลก
หน้า:  «  1 2 3 [4] 5 6 ... 8  »    ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!