ปัญหาพวกนี้จะโทษรัฐทั้งหมดก็ไม่ถูกหรอกครับ
ของแพงเอาเงินไปแทรกแซงก็เงินพวกเรา เอาไปช่วยเกษตรกรก็ภาษีพวกเรา เอาไปช่วยนายทุนก็ภาษีพวกเรา
รัฐประกันราคาข้าว 10000 ไม่เอาจะเอา 14000 แพงมาจากเกษตรกรต้นทางมาถึงปลายทางอย่างเรา ๆ ก็แพงเป็นธรรมดา
แล้วไอ้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ บางคนก็เป็นคนขายปุ๋ยให้เกษตรกรก็ต้องใช้เงินซื้อของแพง ก็เลยขายของแพงให้เกษตรกรเพื่อหาเงินมากินข้าว
สุดท้ายมันก็วนอยู่แบบนี้แหละครับ
บางอย่างมันแพงบ้างหยุดซื้อซักพักมันก็ลง
น้ำมันปาล์มมันแพง มันหมดก็เพราะซื้อไปเก็บ ก็ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไมกัน ซื้อทีละขวดหมดแล้วซื้อกันใหม่ก็ไม่ได้ ต้องซื้อกันไปทีละ 10 ขวด
แถมมาต่อคิวซื้อกันทั้งบ้าน มันก็หมดอะดิ คนอื่นไม่ต้องซื้อ พอคนนึงเห็นอีกคนทำก็ทำบ้าง สุดท้ายมันก็หมด พอขายดีก็ผลิตไม่ทันมันก็ขาดตลาด
พอขาดตลาดก็ตกใจซื้อตุนกันไว้ พ่อค้าก็หัวหมอขึ้นราคาเหมือนของแต่งรถเนี่ยแหละ
แบบว่าหายากแล้วนะอยากได้ก็ต้องรีบซื้อไม่งั้นอด 555 ก็กัดฟันซื้อกันสุดท้ายของใหม่มันก็มาอยู่ดี
จริงๆ แล้วถ้าเราอยู่กันอย่างพอเพียงบ้างก็น่าจะดี
เห็นด้วยครับ ปัญหาทั้งหมดก็มาจากพวกเราทั้งนั้นที่พยายามแย่งกันกิน แย่งกันอยู่ ช่วงนี้พรรคไหนมาเป็นรัฐบาลก็โดนทั้งนั้นแหละครับ
เคยคิดมั๊ยว่าทำไมน้ำมันแพง ราคาตลาดโลกลดลงแต่ในประเทศกลับไม่ลด คำตอบคือ ปตท ไงครับ มันถูกแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจมาเป็นเอกชนแล้วทำให้รัฐไม่สามารถควบคุม
ราคาได้ ราคามันก็เลยขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นใน ปตท. แล้วใครหละครับที่ถือหุ้นใน ปตท. มากมาย ส.ส ของทุกพรรคไงหละครับ แล้วมันจะยอมลดราคากันเหรอ
ประเทศไทยยังโชคดีนะที่ กฟผ. ไม่ถูกแปรรูปไปด้วย ดีนะที่พนักงานใน กฟผ. ช่วยกันประท้วงไว้ไม่งั้นพวกเราคงต้องค่าไฟกันน้ำบานเหมือนน้ำมันเลยหละครับ
คงน่าจะจำกันได้นะครับว่าตอนแปรรูปนั้นใครเป็นนายกรัฐมนตรี ?