รบกวนด้วยครับ รถโหลดเตี้ยวัดจากกลางโคมไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 cm. หรือว่า 60 cm. กันแน่ครับ อ่านมาหลายที่แล้วไม่ค่อยตรงกันไม่รู้จะเชื่ออันไหนดี พอดีรถผมสูงเกิน 40 cm. แต่ต่ำกว่า 60 cm. ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
หลักกฎหมายที่ เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องความสูงของรถยนต์มี 2 เรื่อง1.กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์และของรถที่จะรับจดทะเบียนเป็นรถประเภทต่างๆ พ.ศ.2548
2.กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
1.กำหนดลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์และของรถที่จะรับจดทะเบียนเป็นรถประเภทต่างๆพ.ศ. 2548
ความสูง? หมายถึง ระยะเมื่อวัดในแนวดิ่งจากพื้นราบถึงส่วนที่สูงที่สุดของรถ โดยไม่รวมกระจกเงาสำหรับมองด้านนอกตัวรถและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ยืดหยุ่นได้ ในกรณีเป็นความสูงภายใน ให้วัดจากพื้นรถส่วนที่ใช้วางเท้าถึงส่วนต่ำสุดของเพดานห้องโดยสารของรถ
(3) รถยนต์ส่วนบุคคล
(ก) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน ต้องมีความกว้างไม่เกิน 2.55 เมตร ความยาวไม่เกิน 12 เมตร
ความสูงไม่เกิน 4 เมตร กรณีที่รถมีความกว้างไม่เกิน 2.30 เมตร ให้มีความสูงได้ไม่เกิน 3.20 เมตร
2.กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
ข้อ 2 รถยนต์ต้องมีโคมไฟหน้ารถและโคมไฟท้ายรถ ดังต่อไปนี้
(1) โคมไฟหน้ารถมี 3 ประเภท คือ
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง
สูงจากพื้นทางราบถึง
จุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้อง
อยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็น
พื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร ศูนย์รวมแสงต้องไม่สูงกว่าแนวขนานกับ
พื้นทางราบ และไม่เฉไปทางขวา ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อให้ใช้โคมไฟประเภทนี้เพียง
ดวงเดียวโดยติดไว้ที่กลางหน้ารถ
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง
สูงจากพื้นทางราบถึงจุด
ศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ใน
ระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้
ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบ
ไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา ในกรณีที่เป็น
รถยนตร์สามล้อให้ใช้โคมไฟประเภทนี้เพียงดวงเดียว โดยติดไว้ที่กลางหน้ารถ
วิเคาระห์หลักกฎหมายกฎหมาย 2 ตัวนี้ไม่ได้กำหนดความเตี้ยของตัวรถไว้ว่าต้องเตี้ยเท่าไหร่ เพียงแต่ได้กำหนดเรื่องความสูงของรถต้องไม่เกิน 4 เมตร ( ตาม 1.กำหนดลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์และของรถที่จะรับจดทะเบียนเป็นรถประเภทต่างๆพ.ศ. 2548 ) ดังนั้นถ้าความสูงไม่เกิน 4 เมตรย่อมไม่ผิดกฎหมาย แต่เรื่องโหลดเตี้ยนั้นจะไปผิดในเรื่องของโคมไฟแสงพุ่งไกล และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ซึ่งกฎหมายนั้นกำหนดให้ต้องติดตั้ง สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร (60 ซ.ม.) ดังนั้นเห็นได้ว่าการโหลดเตี้ยหากทำให้ไฟหน้า
ต่ำกว่า 60 ซ.ม. ก็โดนจับได้ครับผม แถมเรื่องไฟตัดหมอกที่ชอบติดกันครับ (เอาไว้คุยกับพี่ตำรวจเผื่อแกเห็นว่าเรารู้เรื่องจะได้ปล่อยไป)กฎกระทรวงฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2536)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 และมาตรา 61 แห่งพระราช
บัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของ (1) ในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
"
รถคันใดจะมีโคมไฟหน้ารถเพื่อใช้ตัดหมอกก็ได้ โดยติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง
อยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลืองมีกำลังไฟเท่ากัน ไม่เกินดวงละ 55 วัตต์
สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำ ศูนย์รวมแสงต้อง
อยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร
และไม่เฉไปทางขวา"
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3 ทวิ) ของข้อ 13 แห่งกฎกระทรวง
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
"(3 ทวิ) ในกรณีที่รถมีโคมไฟเพื่อใช้ตัดหมอก
จะเปิดไฟหรือใช้แสงสว่าง
ได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่านมีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรคอันอาจเกิดอันตราย
ในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ"
วิเคาระห์หลักกฎหมายเรื่องไฟตัดหมอกกฎหมายบอกให้มีได้ แต่ต้องใช้ได้เฉพาะในทางที่มีหมอก ควัน ฝุ่นละออง และต้องเปิดตอนไม่มีรถสวนมาในระยะแสงไฟ ดังนั้นการติดตั้งไม่ผิด แต่การเปิดใช้ถ้าเปิดกลางคืนทั่ว ๆ ไป (ที่เปิดแยงตากันบ่อย ๆ) ก็ระวังหน่อยครับ โดนแน่นอน