BEN AE
บุคคลทั่วไป
|
 |
« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 08:41:54 » |
|
เลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมายความว่าอย่างไร
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527)หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ
ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12
ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10 ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ
เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น อันเป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sitnonXtreme
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 08:49:35 » |
|
เยอะมากมาย ><
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
รับวางเครื่องยนต์ (TOYOTA) 088-5484566 Line ID : sitnonxtreme

|
|
|
pkandtom@van wagon
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 09:04:46 » |
|
-ขอบคุณครับ-
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จำหน่ายครอบคาลิปเปอร์เบรคราคาคู่ละ 370 บาท ครับมี 3 สีและ 3 ยี่ห้อมาให้เลือกกันครับ แดง น้ำเงิน เหลือง โลโก้ SPOON BREMBO TRD ส่วนทรงใหม่ 450 บาท ติดตั้งเองได้ครับ ใช้ซิลิโคนยึดและมีคิ้วJAZZ หงุดหงิด ราคา 550 ต่อ1ชุดครับ + ค่าส่ง EMS 100 ครับ โทรมาสอบถามกันได้ราคาเออีครับ 080-430-5288 เค ตลอดเวลา
|
|
|
katawutc
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 09:34:52 » |
|
รู้เพิ่มครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่มีมิตรแท้ ไม่มีศัตรูถาวร
|
|
|
โน่ SRC ™
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 09:36:41 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anukool Jumpa
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 09:41:13 » |
|
สุดยอดไปเลย..ได้ความรู้จริงๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NonG_<TPZ#02>_<NC.Z>
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 10:15:11 » |
|
ไม่เคยรู้เรย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Trang-Phattalung Zone / Nongchok Zone
|
|
|
นัส@นิคมพัฒนา
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 10:26:45 » |
|
แจ่มไปเลยยย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
...nui@110...
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 11:20:41 » |
|
กว่าจะอ่านจบ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
RANDOM.VIP
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 11:58:12 » |
|
แล้วคุณจำเลข 13 หลักของตัวเองได้หรือยัง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|

เวลาเท่านั้นแหล่ะที่จะบอกได้ว่า "เพื่อนแท้" คือใคร
|
|
|
ไม่จูน ไม่โม ไม่โบ ไม่แรง
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 12:34:27 » |
|
1 6399 00001 เหมือนจะเคยเดาได้ว่าเป็นของจังหวัดตาก 63000
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
▓▒ น้องกะทิ ▒▓
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 14:21:52 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
 พลังงานซากอ้อย
|
|
|
NosDriVe
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 16:01:34 » |
|
เลขผมขึ้นต้นด้วย 3 แฮะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ถ้าไม่ทนเหนื่อย ทนลำบากมาด้วยกัน ก็ไม่รู้หรอกว่าแต่ละคนให้ใจกันแค่ไหน ใช่มั้ย พิเรณทีม
|
|
|
nuvo3816
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 16:37:11 » |
|
มันอย่างนี้ หนี้เอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
JawZ
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 21:09:42 » |
|
ความรู้รอบตัว 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
 ของทุกอย่างในญีปุ่น เราขนมาให้ท่านได้
|
|
|
NoO_BenZ TZ#40..
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2551 23:20:33 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
" We r TZ "
บ้านหลังนี้..มีมากกว่า.."ความอบอุ่น"
|
|
|
Juno-Cung
|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2551 01:18:01 » |
|
ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10 ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
ขอโทษนะครับ ไม่ได้จะอะไรมากมายนะครับ เพียงแต่จะบอกว่า ข้อความนี้เข้าใจผิดอะไรสักกอย่างนึงนะครับ 1001 คือรหัสเขตพระนครครับ เขตดุสิต คือ 1002 ครับ 1001 พระนคร 1002 ดุสิต 1003 หนองจอก 1004 บางรัก 1005 บางเขน 1006 บางกะปิ 1007 ปทุมวัน 1008 ป้อมปราบฯ 1009 พระโขนง 1010 มีนบุรี 1011 ลาดกระบัง 1012 ยานนาวา 1013 สัมพันธวงศ์ 1014 พญาไท 1015 ธนบุรี 1016 บางกอกใหญ่ 1017 ห้วยขวาง 1018 คลองสาน 1019 ตลิ่งชัน 1020 บางกอกน้อย 1021 บางขุนเทียน 1022 ภาษีเจริญ 1023 หนองแขม 1024 ราษฎร์บูรณะ 1025 บางพลัด 1026 ดินแดง 1027 บึงกุ่ม 1028 สาทร 1029 บางซื่อ 1030 จตุจักร 1031 บางคอแหลม 1032 ประเวศ 1033 คลองเตย 1034 สวนหลวง 1035 จอมทอง 1036 ดอนเมือง 1037 ราชเทวี 1038 ลาดพร้าว 1039 วัฒนา 1040 บางแค 1041 หลักสี่ 1042 สายไหม 1043 คันนายาว 1044 สะพานสูง 1045 วังทองหลาง 1046 คลองสามวา 1047 บางนา 1048 ทวีวัฒนา 1049 ทุ่งครุ 1050 บางบอน ตามนี้ครับไม่มีผิดพลาดแน่นอน อย่าโกรธกันหละผมมาแก้ให้มันถูกต้องเฉยๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
coolgang
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2551 01:55:26 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Christmas
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2551 07:57:56 » |
|
ผมจำรหัส 13 หลักได้แม่นครับ แต่จำความหมายไม่ได้อ่ะ มันยุ่งยากจัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|