AE. Racing Club
21 กรกฎาคม 2568 03:14:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการใช้เมีย (โดยเฉพาะคนรักครอบครัว)  (อ่าน 1290 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Aoffii@ImSry
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,020


สิบคนในวงเหล้า คงไม่อบอุ่นเท่าหนึ่งคนในวงแขน


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2551 17:18:13 »

คิดว่าหลายท่านคงพบปัญหาเดียวกัน ในการใช้ "เมียออโตเมติก" เพื่อทะนุถนอมอายุการใช้งาน เมียของท่านให้ยืนยาว และเป็นการรักษาอายุของท่านเองด้วย เราขอแนะนำข้อปฏิบัติ หลักสิบประการ เพื่อใช้และบำรุงรักษาเมียออโตเมติก ดังต่อไปนี้
1. เมื่อเริ่มจะใช้งานเมียนั้น ควรอุ่นเครื่องก่อนทุกครั้ง เพราะการใช้งานทันทีทันใด ในขณะที่น้ำมันเครื่องยังไม่ได้หล่อลื่น ไปทั่วห้องเครื่องนั้น อาจทำให้ลูกสูบติด หัก หรืองอได้
2. ในตอนออกสตาร์ทใหม่ ๆ อย่าเร่งเครื่องทันที เพราะการเร่งเครื่องทันทีนั้น อาจทำให้ ผู้ขับเกิดอาการอ่อนเพลีย ขับได้ไม่นาน อาการตอบสนองของเครื่องจะไม่ดี เครื่องกระตุก นอกจากนั้น เครื่องอาจหงุดหงิด เกิดอาการสำลักน้ำมันได้ง่าย และการเดินทางจะไม่ถึงที่หมาย
3. ในขณะติดไฟแดงนั้น ไม่ควรใช้งาน แม้ในทางทฤษฎีแล้ว เครื่องบางเครื่อง อาจเป็นช่วงเหมาะสม ที่จะนำไปใช้งาน แต่ในสภาพความเป็นจริง แล้ว ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่ควรใช้งาน เนื่องจากเครื่องอาจเกิดปัญหา ผุกร่อน คราบเขม่า น้ำมันจารบี อีกทั้งยังอาจผลเสียต่อสุขภาพของผู้ขับขี่ และเครื่องเช่นกัน ในจังหวะไฟเขียว ก็ควรจะดูรอบเครื่องและอุณหภูมิด้วย อย่าสุ่มสี่สุ่มห้า ใช้ไม่บันยะบันยัง อาจเกิดปัญหาอื่นตามมาได้ โดยเฉพาะในกรณีท่านที่ขับรถสปอร์ต ยืมเขามาขับ หรือลักลอบขับยิ่งอันตรายมาก สำหรับผู้ขับที่ยังไม่ได้มีรถส่วนตัวอย่างแท้จริง ส่วนท่านที่ใช้รถครอบครัว กรณีนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ตกลงกันได้เสมอ
4. สำหรับรถและเครื่องที่มีอายุการใช้งานมานาน การขับขี่อาจนุ่มนวล แต่รู้สึกว่าการตอบสนองไม่เร้าใจ เนื่องจากเกิดความคุ้นชิน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ท่านอาจเปลี่ยนแปลงวิธีขับ เช่น รู้จักเข้าโค้งอย่างนุ่มนวล หรือในทางตรงกันข้าม เข้าโค้งรุนแรง ขับถอยหลัง ขับออกด้านข้าง ขับขึ้นเขา ขับลงเขา ขับๆ หยุด ๆ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ขับเกิดความตื่นเต้น และเครื่องยนต์ก็จะตอบสนองดีขึ้น หากท่านใช้วิธีขับแบบเดิม ทื่อๆ ไป ไม่มีความเร้าใจ เครื่องและรถก็อาจอยากได้คนขับใหม่ด้วยเช่นกัน อย่าได้คิดว่าเปลี่ยนรถจะง่ายกว่าฝ่ายเดียวนะ
5. สำหรับมือใหม่หัดขับนั้น หากได้รถยังไม่พ้น รัน-อิน ยิ่งควรทะนุถนอม เพราะการขับอย่างรุนแรงตะกรุมตะกรามนั้น อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเข็ด และไม่ให้ความร่วมมือในการเดินทางครั้งต่อไป เนื่องจากอาจเกิดภาวะความเสียหายของห้องเครื่องได้ง่ าย ควรค่อยเป็นค่อยไป เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง จึงควรเปลี่ยนแปลงวิธีการขับ เป็นขับโลดโผน เสี่ยงตาย ขับควงสว่าน ขับลงน้ำ ขับกลางสายฝน ขับหงายท้อง ก็แล้วแต่จะดัดแปลง
6. สำหรับผู้ใช้รถเก่า เมื่ออายุการใช้งานนานพอสมควร หรืออายุเครื่องถึงสามสิบปี ควรนำเข้าศูนย์เช็คช่วงล่าง และกันชนหน้าเสมอ เพราะอาจเกิดสภาวะการผุกร่อน หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ขอให้นำเข้าตรวจสภาพเป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งาน รักรถ ต้องหมั่นตรวจ โปรดจำไว้..ส่วนการจะนำไปโอเว่อร์ฮอล หรือไม่นั้น แล้วแต่จะตกลงกัน ในความเป็นจริงผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เรื่องนี้สำคัญที่ใจ และฝีมือคนขับด้วย ไม่ใช่โทษแต่เครื่องยนต์อย่างเดียว
7. ระหว่างการขับขี่ ไม่ว่ารถมีอายุการใช้งานอย่างใด ข้อควรระวังก็คือ ห้ามบ่นอย่างเด็ดขาด ว่าเครื่องไม่ฟิตเหมือนเดิม หรือว่ากำลังแรงม้าลดลง ขับไม่ตื่นเต้น หรือชมว่า คันนู้น คันนี้ น่านั่งน่าขับ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตได้ หรืออย่างเบาะ ๆ อาจเสียทรัพย์สิน อุบัติเหตุในเรื่องดังกล่าว มีอัตราชายไทยเสียชีวิตสูงมาก สังเกตุได้จากหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน
8. เทคนิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการขับขี่ : การใช้งานอย่างราบรื่นนั้น อาจต้องหมั่นเปลี่ยนบรรยากาศการขับ เปลี่ยนสถานที่ขับขี่ (อย่าเปลี่ยนคัน อันตรายมาก เตือนแล้ว!!) สำหรับท่านที่ใช้รถครอบครัว ให้ดูแลลูกเต้าให้หลับเป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย เพราะการขับขี่อาจหยุดชะงักลงได้ เนื่องจากเจอปัญหาเด็กข้ามตัดหน้า เด็กเปิดประตูระหว่างขับ ไม่ข้ามทางม้าลาย จนต้องอุทาน "ลูกใครหว่า?" เขิน เป็นที่สุด..อ้อ..ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อน หรือระหว่างขับ เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะทำให้รถเกิดความสกปรก เครื่องยนต์ตอบสนองไม่ดี แปรงฟันเสียด้วย หากกินข้าวกินปลาเสร็จใหม่ๆ พักสักแป๊บก็ดี เดี๋ยวจุกแย่ ผู้ขับมือใหม่ หากตื่นเต้น ระหว่างขับ ให้ชลอความเร็ว ลดรอบเครื่องยนต์ คิดเรื่องอื่น ๆ สูดหายใจยาว ๆ จะทำให้เกิดการผ่อนคลาย และเดินทางได้นานขึ้น
9. ความรู้ทางด้านช่างเบื้องต้น: ระวังรักษา ท่อไอดี และไอเสีย และท่อเติมน้ำมัน ให้ทำงานดีเสมอ การใช้งานอย่างสับสน ผิดท่อผิดทางนั้น อาจเกิดความตื่นเต้นในการขับขี่เป็นครั้งคราว แต่ทั้งนี้ อาจเกิดผลเสียแก่เครื่องยนต์ในระยะยาว รักษาความสะอาด ทั้งหัวจ่ายน้ำมัน และท่อต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หมั่นตรวจเครื่องยนต์และอื่น ๆ ชมได้ ห้ามติ โดยเฉพาะ กันชนเล็กไป นุ่มไป เหลวไป หย่อนไป เครื่องหลวม เครื่องสั่น ม่ฟิต เร่งไม่แรง แซงไม่พ้น โปรดพึงสังวรว่าเกิดจากการใช้งานอย่างไม่ถูกวิธีของท ่าน หาใช่เกิดจากผู้ผลิต
10. ความปลอดภัย และวินัยจราจร: เมาไม่ขับ เนื่องจาก หากเมามากเกินไป แม้มีความเชื่อว่า จะทำให้ขับได้นาน ทรหดก็ตาม แต่ก็จะสูญเสียทัศนวิศัย และความสามารถในการตอบสนองอื่น ๆ อาจเกิดการผิดที่ผิดทาง ลืมคาดเข็มขัดนิรภัย ขับผิดคัน ล้วนแต่เป็นเหตุแห่งความเสี่ยง ต่อชีวิตทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า


I'M SORRY
Sir-Drag-A-Lot
สมเจตน์ การช่าง
หจก. พูนทอง เซอร์วิส PTS

janejungja
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2551 18:02:23 »

แหม...มีประโยชน์จริงๆเลยนะ...พ่อคู๊น
บันทึกการเข้า
Ahe_phoo
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2551 09:24:40 »

มันดีจริงๆๆๆ
บันทึกการเข้า
aj dvd
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,122



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2551 09:40:02 »

มันดีจริงๆๆๆ
อ่านไว้ให้ดีๆ ป้องกันการเสียบรู(กุญแจ)ผิดคันเด๋วจะยุ่ง
บันทึกการเข้า
TOng
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2551 18:33:44 »

อ๊อฟ เอย เป็งไรกะเมียมากป่าวเนี่ย
แต่ก็จริงนะ 55+
บันทึกการเข้า
Aoffii@ImSry
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,020


สิบคนในวงเหล้า คงไม่อบอุ่นเท่าหนึ่งคนในวงแขน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2551 21:23:51 »

เปนคนไม่มีเมีย 555
บันทึกการเข้า


I'M SORRY
Sir-Drag-A-Lot
สมเจตน์ การช่าง
หจก. พูนทอง เซอร์วิส PTS

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!