ความคิดของคุณกำลังทำร้ายตัวคุณเองอยู่หรือเปล่า ? การคิดคือการดำรงอยู่ การครุ่นคิดถึงเรื่องของชีวิตและวิญญาณ
สามารถนำไปสู่การพัฒนาตัวตนของเราได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการครุ่นคิด
กลายเป็นความปวดหัวจากการคิดซ้ำซากในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงเวลาที่จะลด
ดีกรีลงได้แล้ว
สารพันความคิดเจ้าปัญหา1.
สร้างเรื่องให้ใหญ่จนเกินจริง ตามปกติความคิดแบบนี้จะเกิดขึ้น
เมื่อคุณรู้สึกว่าถูกกระทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากโดยคนอื่น
ในฉากความคิดแบบนี้คุณจะไม่นึกถึงสถานการณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งเลยแม้
แต่นิดเดีย
2.
ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ความคิดแบบนี้มักเริ่มต้นขึ้นเมื่อเรา
รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจในเรื่องทั่วๆ ไป หรือสถานการณ์บางอย่างที่เพิ่ง
เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ และเมื่อเราเริ่มวิเคราะห์มัน ความคิดของเราก็อาจ
นอกลู่นอกทางจนควบคุมไม่ได้
3.
ความคิดสับสนอลหม่าน เมื่อความคิดของคุณเริ่มฟุ้งซ่าน ความหายนะ
ก็กำลังจะมาเยือน เมื่อความคิดของคุณวิ่งวนไปมาเป็นวงกลม คุณก็ไม่มีวัน
คิดอะไรออก และบ่อยครั้ง ที่ความคิดเช่นนี้มักนำไปสู่ความพยายามที่จะลบ
คิดเหล่านี้ออกจากหัว ด้วยการใช้ยาเสพติดและเหล้า
4.
ความคิดกลางดึก บ่อยครั้งที่คนเรามักชอบนปัญหาต่างๆ ไปครุ่นคิดในยาม
ค่ำคืน แต่แน่ใจหรือว่าคุณจะได้ข้อสรุปอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวในยามค่อนคืนเช่นนั้น
ส่วนใหญ่ความคิดเหล่านี้มักจะเต็มไปด้วยความกลัวและความวิตกจริต จนคุณไม่อาจ
มองเห็นปัญหาที่แท้จริง และถ้าคุณนอนไม่หลับทั้งคืน วันรุ่งขึ้นคุณก็จะไม่มีแรงพอที่
จะรับมือกับปัญหาได้อยู่ดี ฉะนั้นถ้าครุ่นคิดซ้ำซากมากกว่า 15-20 นาที ลุกขึ้นออก
จากห้องนอนไปซะ และลองหาอะไรเบาๆ อ่านดูสักพักก่อนจะเข้านอนใหม่อีกครั้ง
จัดการกับมันซะ.....เดี๋ยวนี้1.
ให้มันได้พักบ้าง ครั้งต่อไปที่คุณเริ่มคิดวกวนและรู้สึกไม่สบายใจ ลุกขึ้นและ
ทำอะไรสักอย่างที่คุณโปรดปราน เช่นอ่านหนังสือ หรือไปหาเพื่อน ในการศึกษาวิจัย
แค่การเบี่ยงเบนเพียง 8 นาที ก็มากพอแล้วที่จะหยุดวงจรความคิดซ้ำซากได้ และเมื่อ
รูปแบบของความคิดแบบนี้ยุติลง พร้อมกับการได้ทำกิจกรรมที่พึงพอใจ มันจะทำให้
เราปลอดโปร่งพอที่จะแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
2.
ไล่มันไป วิธีง่ายๆ แต่ได้ผลในการหยุดความคิดในเชิงลบที่หลั่งไหลเข้ามาคือ
ตะโกนคำว่า
"หยุด" ในหัว
3.
ให้โอกาสมัน ถ้าคุณไม่อาจเพิกเฉยต่อความคิดบางเรื่อง และจำเป็นต้องครุ่นคิดถึงมัน
จริงๆ ก็หาเวลาคิดซะ กำหนดเวลาว่าจะคิดถึงเรื่องนี้ในตอนเย็นหรือหลังกินอาหารเช้า ก็จะทำ
ให้คุณมีช่องว่างที่จะจัดการกับปัญหาโดยไม่ต้องรีบร้อน คุณจะผ่อนคลายมากขึ้นและอาจ
แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
4.
คุยให้กระจ่าง ถกเถียงในเรื่องความคิดที่เป็นพิษกับเพื่อนๆ เพื่อการตรวจสอบความจริง
แต่ระวังเพื่อนที่เจตนาดีซึ่งเอาแต่เห็นด้วยกับคุณ เพราะนี่อาจะทำให้คุณเชื่อมากขึ้นไปอีกว่า
คุณถูกแล้วที่คิดในแง่ลบแบบนั้น
5.
เขียนมันออกมา การเขียนความคิดด้านมืดของคุณลงบนกระดาษ อาจช่วยให้คุณเห็น
สิ่งต่างๆ ชัดเจนขึ้นและแยกแยะปัญหาได้ดีขึ้น อย่าเขียนเฉพาะความคิดในแง่ลบของตัวเอง
และอ่านมันโดยไม่พยายามแก้ไข คุณต้องมองว่ามันเป็นแบบฝึกหัดในการแก้ปัญหา และ
ไม่ใช่การยืนยันความเชื่อของตัวเอง
ปล. ทดสอบความแม่นยำในการพิมพ์ อย่าคิดมาก...
